วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ทฤษฏี 26 หัวข้อ

แบบสรุป แนวคิดและทฤษฎี ทางการบริหารและนักคิด
ในรายวิชา ทฤษฎีการจัดการเชิงกลยุทธ์ชั้นสูงฯ (BUS701) ของ ผศ.ดร.วิชิต อู่อ้น ในหลักสูตรดุษฎีบริหารธุรกิจบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีปทุม
1.  Douglas Murray McGregor
ชื่อทฤษฎี : ทฤษฎีเอ็กซ์และทฤษฎีวาย (Theory X and Theory Y)
Douglas McGregor ได้เขียนหนังสือ "The Human side of Enterprise" โดยเปรียบเทียบทางเลือกที่ผู้บังคับบัญชาหรือผู้บริการจะต้องเผชิญ
หลักการและแนวคิด
ทฤษฎีของแม็กซ์เกร์เกอร์ มีฐานคดีในการมองคนที่อยู่ในองค์การแยกออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่
1. ทฤษฎี X ถือว่า
- คนโดยทั่วไปเกียจคร้าน ชอบเลี่ยงงาน
- ขาดความกรตือรือร้น ไม่มีความรับชอบ ปรารถนาที่จะเป็นผู้ตามมากกว่า
- เห็นแก่ตัว เพิกเฉยต่อความต้องการขององค์การ
- ไม่ฉลาด
2. ทฤษฎี Y : เห็นว่า
- คนชอบทำงาน ไม่ได้เป็นคนเกียจคร้าน
- การควบคุมภายนอก ไม่ใช่เป็นวิถีทางที่จะได้มาซึ่งงาน คนสามารถที่จะหาแนวทางและควบคุมตนเองได้
- ความพึงพอใจที่ได้ปฏิบัติงานเข้ามาตามศักยภาพ เป็นรางวัลที่มีความสำคัญที่จะทำให้คนมีความผูกพันอยู่กับองค์การ
- คนโดยทั่วไปจะเรียนรู้เพื่อแสวงหาความรับผิดชอบต่อไป
- คนส่วนใหญ่อาศัยภาวะสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหาในองค์การ
- ในปัจจุบันศักยภาพของคนยังไม่ได้รับการนำไปใช้
การนำไปใช้
* ทฤษฎี X ก็คือ ภาพพจน์ของคน ในแนวมนุษยสัมพันธ์ ซึ่งเชื่อว่าโดยธรรมชาติมนุษย์เป็นคนดี ดังนั้นคนจึงควรควบคุมตนเองได้ การควบคุมตนเองหมายถึงการปรับปรุงองค์การในเรื่องต่าง ๆ เช่น การกระจายอำนาจ การมอบหมายอำนาจ หน้าที่ การขยายงาน การมีส่วนร่วม และการบริหารงาน โดยยึดเป้าหมาย จึงเห้ได้ว่าข้อเสนอการปรับปรุงงานของ McGragor เป็นการย้ำให้เห็นความสำคัญของคน และช่วยให้คนหลุดพ้นจากการควบคุมขององค์การ ซึ่งเป็นค่านิยมหลักของมนุษย์ นิยมที่จะเห็นว่าคนมาก่อนองค์การ
*  มนุษย์นิยมต้องการหาจุดที่พบกันได้ แต่ต้องการรักษาความมีเสรีภาพไว้ การมองคนว่าเป็นประเภท X หรือ Y นั้นเป็นการช่วยให้เราแยกแยะคนได้ ทำให้รู้ว่าใครเป็นเพื่อนที่ดี หรือนายที่ดี ซึ่งเรียกการมองแบบนี้ว่า Polarization
ได้รับการอนุเคราะห์ข้อมูลจากคุณ : พีระวัฒน์ ชาติพฤกษพันธุ์ นักศึกษา DBA 04

2. Henry L. Gantt
Henry L. Gantt
     ความเป็นมา  Gantt เป็นวิศวกรเครื่องกลที่มีความคิดเช่นเดียวกับ Taylor และได้ทำงานร่วมงานกับ Taylor ที่บริษัท Midvale Steel Commpany ในปี 1887 และสร้างผลงานต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่วปี 1901 เขาได้ก่อตั้งบริษัทที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมของเขาเอง เขาเชื่อในแนวคิดการปฏิบัติการตามหลักวิทยาศาสตร์เช่นเดียวกับ Taylor โดย Gantt ทำงานเป็นที่ปรึกษาในบริษัทต่าง ๆ มากมายในการคัดเลือกคนงานแบบวิทยาศาสตร์ และการพัฒนาระบบจูงใจด้วยโบนัส เขาเน้นความต้องการและความสนใจทั้งฝ่ายบริหารและคนงาน การร่วมมือกันอย่างกลมกลืน
     Gantt เป็นที่รู้จักดีที่สุดในการพัฒนาวิธีการอธิบายแผนโดยกราฟเรียกว่า ผังแกนต์ (Gantt Chart) และสร้างการควบคุมการจัดการที่ดีขึ้น ส่วนต้นทุนเขาเน้นความสำคัญของเวลาเช่นเดียวกับต้นทุนในการวางแผนและการควบคุมงาน ทำให้ผัง Gantt มีชื่อเสียง และนำมาใช้อย่างกว้างขวางเป็นรูปแบบของเทคนิคในปัจจุบัน
     โมเดลนี้ใช้เพื่อ
     gantt chart ใช้ในการวางแผนระยะเวลาที่ใช้ของงานแต่ละงานของโครงการ เราจะเห็นรายละเอียดว่าโครงการนี้มีงานย่อยๆอะไรบ้าง และแต่ละงานใช้เวลาเท่าไหร่ งานไหนมาก่อนมาหลัง
gantt chart ใช้ในการวางแผนระยะเวลาที่ใช้ของงานแต่ละงานของโครงการ เราจะเห็นรายละเอียดว่าโครงการนี้มีงานย่อยๆอะไรบ้าง และแต่ละงานใช้เวลาเท่าไหร่ งานไหนมาก่อนมาหลัง
ข้อดีของโมเดล
* ทำให้เข้าใจภาพรวมของระบบได้ง่ายขึ้น
* เป็นเครื่องมือที่ใช้ประโยชน์ในการวางแผนและแสดงตารางเวลาของโครงการ
* เป็นเครื่องมือที่ช่วยติดตามความคืบหน้าของโครงการ
ข้อเสียของโมเดล
ไม่สามารถบอกได้ว่าถ้ากิจกรรมที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเกิดความล่าช้า แล้วจะมีผลกระทบกับกิจกรรมที่เกิดขึ้นทีหลังอย่างไร
จัดทำอย่างไร
1. แจกแจงรายละเอียดกิจกรรมของแผนงาน โดยแต่ละงานให้ระบุวันเริ่มต้น ประมาณการระยะเวลาที่ใช้ มีงานใดบ้างที่ต้องเริ่มพร้อมกัน หรือมีงาน ใดบ้างที่ลำดับก่อนหลัง ซึ่งหากมีลำดับต้องระบุความสัมพันธ์ไว้ด้วย
2.  สร้าง Gantt Chart
3. วิเคราะห์การใช้ทรัพยากรของกิจกรรมต่าง ๆ ว่าเป็นไปตามที่กำหนดไว้หรือไม่
ปัจจุบันได้มีการใช้โมเดลนี้กันอย่างแพร่หลาย โดยนำ Microsoft Project


3. Henri Fayol
Henri Fayol
     ความเป็นมา Henry Fayol เป็นวิศวกรชาวฝรั่งเศสี่มีชีวิตอยู่ในช่วงปี ค.ศ.1841-1925 เขาเกิดในครอบครัวที่ประกอบธุรกิจขนาดเล็กแห่งหนึ่งในประเทศฝรั่งเศส และจบการศึกษาจากโรงเรียน National School of Mines at St.Etience ในช่วงปี ค.ศ.1860-1866 เขาได้ทำงานเป็นวิศวกร และก้าวมาทำงานเกี่ยวกับการบริหารจัดการโดยเป็นผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มบริษัทขนาดใหญ่ Fayol ได้มองการบริหารจากทัศนะของผู้เชี่ยวชาญว่าในองค์กรควรมีการทำงานร่วมกัน Fayol มีชีวิตที่ยืนยาว ผลงานของเขาไม่ได้ตีพิมพ์ จนกระทั่งเขาอายุได้ 75 ปี เนื่องจากต้องการหลีกเลี่ยงปัญหาที่เกิดขึ้นจากการขัดแย้งกับแนวคิดของ Taylor ซึ่งในงานเขียนของ Fayol นั้น ได้เขียนเกี่ยวกับความสำคัญของการบริหารที่ทำให้สามารถปฏิบัติงานในองค์การได้ Fayol ได้กำหนดว่า ทฤษฎีเป็นการรวบรวมวิธีการและกระบวนการ เพื่อให้มีประสบการณ์มากขึ้น
     หลักการบริหาร 14 ข้อ
1. การมีเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity of Command)
2. .การมีเอกภาพในการสั่งการ (Unity of Direction)
3. การแบ่งงานกันทำ (Division of Work)
4. การรวมอำนาจไว้ที่ส่วนกลาง (Centralization)
5. อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบ (Authority and Responsibility)
6. ความเสมอภาค (Equity)
7. สายการบังคับบัญชา (Scalar Chain)
8. การให้ผลประโยชน์ตอบแทน (Remuneration)
9. .การมีระเบียบข้อบังคับ (Order)
10. ความมีระเบียบวินัย (Discipline)
11. ความคิดริเริ่ม (Initiative)
12. ผลประโยชน์ของบุคคลควรจะเป็นรองจากผลประโยชน์ส่วนรวม  (Sulxordination of Individual Interest to the General Personnel)
13. ความมั่นคงในหน้าที่การงาน (Stability of Lenore of Personnel)
14. ความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน (Esprit de Crope)
เครื่องมือนี้คืออะไร/มีองค์ประกอบอะไร
Henri Fayol ได้สรุปเป็นทฤษฎีว่า หากวันหนึ่งคุณต้องอยู่ในสภาวะที่ต้องใช้คนจำนวนมาก ๆ ในกาทำงานแล้วละก็หัวใจของการบริหารจัดการเพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายนั้น มีองค์ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ POCCC
1. Planning
2. Organizing
3. Commanding
4. Coordinating
5. Controliing
     เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไรจากหลักการด้านการจัดการของ FAYOL มีลักษณะเป็นการอำนวยความสะดวกแก่ผู้จัดการในองค์การเป็นอย่างมาก FAYOL ได้กล่าวว่า หลักการของเขาไม่ใช่เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้ประโยชน์ในงานต่าง ๆ หลักการของ FAYOL มีลักษณะเป็นสากลซึ่งต่อมาได้มีการอธิบายขยายความต่อโดย SHELDEN URWICK และ BARNARD
     ข้อดี/ข้อเสีย ของเครื่องมือ
ข้อดี....
1. องค์การมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นจากที่มีการปรับปรุงกระบวนการบริหาร
2. สามารถพัฒนาผลผลิตของคนงานให้ดีขึ้นได้
3. สามารถนำมาใช้ในการบริหารงานวิชาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ข้อเสีย....
1. มุ่งเน้นผู้ปฏิบัติงานในระดับผู้บังคับบัญชาเป็นส่วนใหญ่
     การนำไปใช้ : ทฤษฎีการบริหารของ Fayol ยอมรับองค์การที่เป็นทางการ โดยใช้ประโยชน์จากการแบ่งงานกันทำ (Specialization) และเน้นถึงความสำคัญที่ว่าอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบต้องเท่ากัน โดย Fayol ระบุว่าเป้าหมายที่สำคัญขององค์การ คือ ความเป็นระเบียบ ความมั่นคง ความคิดริเริ่ม และความสามัคคี นักทฤษฎีการบริหารจะต้องเป็นนักปฏิบัติอย่างแท้จริง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับนักทฤษฎีระบบองค์การขนาดใหญ่แล้ว สิ่งที่พวกเขาสนใจและให้ความสำคัญ คือหลักการและแนวคิดสำหรับการประสบความสำเร็จขององค์การซึ่งเป็นทางการ
ข้อมูล : ชูเกียรติ เนื้อไม้ / พีระวัฒน์ ชาติพฤกษพันธุ์


4. Oliver Sheldon
OLIVER SHELDON
     Oliver Sheldon มีประสบการณ์ทำงานในการบริหารกองทัพและ Coca Works of Rowntree & Company เขาได้เขียนหนังสือปรัชญาของการจัดการ ในหนังสือเล่มนี้ได้แสดงให้เห็นถึงแนวความคิดของเขาในการพยายามชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างการจัดการ (Management) และการบริหาร (Administration)
เครื่องมือนี้คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
1. การบริหาร (Administration) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย การวางแผน และประสานงานในหน้าที่ต่าง ๆ
2. การจัดการ (Management) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำนโยบายและแผน มาดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดขึ้นไว้
3. หน้าที่ในการจัดองค์การ เป็นกระบวนการเพื่อประสานงานระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคลในองค์กร
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
 แนวความคิดของเขาในการพยายามชี้ให้เห็นความแตกต่างระหว่างการจัดการ (Management) และการบริหาร (Administration) นอกจากนี้ยังได้นำแนวความคิดด้านจริยธรรมทางสังคม เข้ามาผสมผสานกับการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ เขาได้กระตุ้นให้องค์การทางธุรกิจจำหน่ายสินค้าควบคู่กับการบริการด้วย และได้เสนอแนวความคิดว่าหลักการจัดการทางอุตสาหกรรมที่ดีจะต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของการบริการเพื่อสังคม จากแนวความคิดนี้ได้กลายมาเป็นวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจในยุคปัจจุบันในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งจุดนี้เองทำให้การจัดการยกย่องและยอมรับความเป็นวิชาชีพ
ข้อดีของSheldon
1. กระตุ้นให้องค์การทางธุรกิจจำหน่ายสินค้าควบคู่กับการบริการ
2. เป็นวัตถุประสงค์ขององค์การธุรกิจในยุคปัจจุบันในเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคม
3.  ทำให้การจัดการยกย่องและยอมรับความเป็นวิชาชีพ
ข้อเสียของ Sheldon
1. งบประมาณในการดำเนินการค่อนข้างสูง
2. สิ้นเปลืองเวลาและบุคลากร
ใช้อย่างไร Oliver Sheldon ชาวอังกฤษได้พัฒนาความคิดในเรื่องการจัดการและการบริหารแบ่งการจัดการ เป็น 3 ประการ
1. การบริหาร (Administration) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการกำหนดนโยบาย การวางแผน และประสานงานในหน้าที่ต่างๆ
2. การจัดการ (Management) เป็นเรื่องเกี่ยวกับการนำนโยบายและแผน มาดำเนินการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กำหนดขึ้นไว้ หน้าที่ในการจัดองค์การ
3. เป็นกระบวนการเพื่อประสานงานระหว่างบุคคลหรือระหว่างกลุ่มบุคคลในองค์กร


5. Robert H.Waterman JR
Robert H.Waterman JR
     Robert H.Waterman JR -- โรเบิร์ต เอช วอเทอร์แมน จูเนียร์ เป็นชาวอเมริกัน จบกการศึกษา ปริญญาตรีgeophysicsที่ Colorado School of Mines ปริญญาโท MBA ที่ Stanford University
 การทำงาน Waterman โด่งดังมาจากผลงานวิจัยที่เอามาเขียนเป็นหนังสือ In Search of Excellence, เป็นนักพูด, เคยเป็นที่ปรึกษาให้กับ McKinsey & Company เป็นเวลา21 ปี และมีบริษัทที่ปรึกษาของตนเองชื่อ The Waterman Group, Inc. Waterman ใช้คำว่า Adhocracy กับองค์กร ที่นับเป็นจุดเน้น คำว่าองค์กรที่ถือหลักการ adhocracy จะเป็นองค์กรที่มีโครงสร้างเรียบง่าย ไม่สลับซับซ้อน
     แนวคิด ยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงสูง องค์กรต้องสามารถรับมือกับความเปลี่ยนแปลงนั้นได้ สิ่งสำคัญที่องค์กรปัจจุบันต้องการมากคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่เกื้อหนุนการใช้เทคนิคต่างๆในการแก้ปัญหาในหนังสือ Adhocracy: the Power to Change ท่านได้ใช้ทักษะจากการเป็นที่ปรึกษาด้านการบริหารจัดการมากว่า 25 ปี นำเสนอวิธีการในการที่จะสร้างองค์กรแบบ adhocracy และผลักดันให้มันทำงานได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างทีมงานและการแยกกระจายหน่วยงานที่ใหญ่และซับซ้อนออกเป็นหน่วยย่อย สร้างวัฒนธรรมให้มุ่งเน้นการแก้ปัญหาอย่างเป็นธรรมชาติ
     มัส เจ ปีเตอร์ส (Thomas J. Peters) และโรเบิร์ต เอช วอเตอร์แมน จูเนียร์(Robert H.Waterman,Jr.) ในการค้นหาความเป็นเลิศ ในช่วงต้นปี 1977 พบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการดำเนินงานนอกจากกลยุทธ์และโครงสร้าง ยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์เชื่อมโยงกันทั้งหมด 7 ปัจจัยได้แก่
 ซึ่งตัวแปร 2 ตัวแรกคือโครงสร้างและกลยุทธ์ เปรียบเสมือนเป็นส่วนที่เรียกว่า ฮาร์ดแวร์ ซึ่งผู้จัดการในอดีตให้ความสนใจ ส่วนตัวแปรอีก 5 ตัวที่ค้นพบใหม่ในอดีตผู้จัดการมักไม่ให้ความสนใจมากนัก ซึ่งเปรียบเสมือนซอฟท์แวร์ แมคคินซีย์ เรียกตัวแปรเหล่านี้ว่ากรอบ 7 – S
ประโยชน์ที่ได้รับจากการนำทฤษฎีมาประยุกต์ใช้
* -องค์กรธุรกิจที่ได้ชื่อเสียง และการยอมรับ ตลอดจนความสัมพันธ์ที่ดีจากสังคม
* หุ้นส่วนหรือนักลงทุน ได้รับผลประโยชน์จากราคาหุ้นที่ไม่ถูกกระทบ(กรณีที่บริษัทถูกประท้วง) หรือได้รับการจัดลำดับใน Dow Jones Sustainability Index (เฉพาะในประเทศสหรัฐอเมริกา)
* พนักงานมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน มีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร เกิดความสามัคคี และการสร้าง (Team Building) ขวัญ กำลังใจและความภาคภูมิใจในองค์กร และมีความตั้งใจในการทำงานมากขึ้น
* ลูกค้ามีทัศนคติที่ดีต่อองค์กรและส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อ และความภักดีในสินค้า และที่สำคัญมีงานวิจัยจำนวนมากที่สอบถามผู้บริโภค โดยส่วนใหญ่ตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าที่แสดงออกชัดเจนในการทำดำเนินธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม หากสินค้ามีคุณภาพใกล้เคียงกัน


6.Marry Parker Follett
Marry Parker Follett
ชื่อทฤษฎี่ : กฎแห่งความเหมาะสมตามสถานการณ์ (Law of Situation)
หลักการและแนวคิด
     เป็นทฤษฎีสมัยปัึจจุบัน มีลักษณะของการวิเคราะห์องค์การในเชิงระบบ Follett เป็นผู้ที่เกี่ยวข้องในทฤษฎีสมัยปัจจุบันระหว่างปี ค.ศ.1920-1930 ผลงานของเธอเป็นเรื่องเกี่ยวกับจิตวิทยาของความสัมพัธ์ในองค์การธุรกิจ ที่รวมเอาความสนใจต่าง ๆ ในเรื่องของตัวบุคคลและองค์การ เธอได้เสนอแนะว่าควรจะมีการทำงานต่าง ๆ ให้สำเร็จด้วยการมีจิตใจที่จะร่วมมือประสานกัน โดยเห็นว่าบุคคลทุกคนจะถูกนับว่าเป็นคน ๆ หนึ่ง เป็นส่วนหนึ่งของกลุ่ม และเป็นส่วนหนึ่งของสังคมด้วย จะเห็นว่าการเสนอแนะของ Follett สามารถที่จะทำให้บรรลุผลสำเร็จได้โดยไม่ต้องเสียผลประโยชน์ขององค์การไป สรุปได้ว่า Follett ได้เสนอเป็นหลักการพื้นฐานในการจัดการไว้ 4 ประการ คือ
1. ความสำคัญของการติดต่อสื่อสารในแนวราบ (Horizontal Communication)
2. การเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการบริหาร (Participative Managing)
3. การตัดสินใจที่มีระบบ
4. การบริหารที่มีระบบ
กฎการบริหารของ Follett
1. กฎของสถานการณ์ (Law of situation) โดยทำให้หัวหน้า และลูกน้องเข้าใจในสภาพการทำงานที่เป็นอยู่ โดยไม่รู้สึกว่าตนถูกบังคับ เนื่องจากการติดต่อสื่อสารและการเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารกฎของการรวมตัวกัน (Law of Integration) โดยเห็นว่าเมื่อมีข้อโต้แย้งเกิดขึ้นในองค์การ มีทางออกดังนี้
      * การครอบงำทางความคิด (Domination)
      * การบังคับให้อีกฝ่ายหนึ่งยอมรับ /ประนีประนอม (Compromising)
      * การรวมตัวกัน (Integration)
     การนำไปใช้ สามารถนำเอาหลักทฤษฎีและแนวคิดของ Mary Parter Follett ไปใช้ในการทำงานร่วมกัน โดยให้ความสำคัญกับปัจเจกบุคคลในอันที่จะบรรลุซึ่งวัตถุประสงค์ขององค์การ


7.Emerson C. Harrington
Emerson C. Harrington
      Emerson C. Harrington มีแนวคิดได้นำเอาวิธีการจัดการแบบวิทยาศาสตร์มาบริหารงานคือ การบริหารตามหลักวิทยาศาสตร์นั้น จะต้องมีการค้นพบ และทดลองเป็นอย่างดีว่า วิธีการนั้น ได้ผลจริง เมื่อประเมินผล สามารถบอกได้ว่า อะไรเกิดขึ้น เกิดขึ้นได้อย่างไร เมื่อไหร่ จึงนำเอาข้อมูลเหล่านั้น มากำหนดเป็นหลักการบริหาร ใช้เพื่อปรับปรุงการจัดการกับประสิทธิภาพของคน โครงสร้าง และเป้าหมายขององค์กร เพื่อผลตอบแทนที่สมเหตุสมผล
องค์ประกอบของหลักประสิทธิภาพ 12 ประการ
1. กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน (Clearly defined ideals)
2. ใช้หลักเหตุผลทั่วไป พิจารณาจากความน่าจะเป็นไปได้ของงาน (Common sense)
3. ให้คำแนะนำที่ดี ที่ถูกต้องสมบูรณ์ (Competent counsel)
4. รักษาระเบียบวินัยในการทำงาน (Discipline)
5. .ปฏิบัติงานด้วยความยุติธรรม (Fair deal)
6. มีข้อมูลพร้อมทำงานที่เชื่อถือได้ (Reliable information)
7. .มีการรายงานผลการดำเนินงานทุกระยะ (Dispatching)
8. มีมาตรฐานงานเสร็จตามเวลา (Standard and Schedule)
9. ผลงานได้มาตรฐาน (Standardized condition)
10. ดำเนินงานถือเป็นมาตรฐานได้ (Standardized operation)
11. มาตรฐานที่กำหนดสามารถปฏิบัติได้ (Standardized directing)
12. ให้บำเหน็บรางวัล แก่ผู้ปฏิบัติงานดี (Efficiency reward)
ข้อดี
     ด้วยแนวทางการบริหารแบบนี้ เป็นแบบหลักวิทยาศาสตร์ ซึ่งได้ผ่านการทดลองมาหลายครั้ง และประเมินผลแล้ว สามารถพิสูจน์ได้ว่า มีประสิทธิผลเพียงไร ซึ่ง Emerson Harrington ได้นำมาใช้ในการบริหารกว่า 200 องค์กร
ข้อเสีย
     ด้วยแนวคิดนี้ จะมีการแบ่งงานออกเป็นย่อย ๆ จะถือเอาความรวดเร็ว ให้คนทำงานเฉพาะอย่าง ถือความชำนาญเป็นผลงาน ซึ่งอาจต้องสิ้นเปลืองคน
ใครนำไปใช้ และ ผลสรุปเป็นอย่างไร
     Emerson C. Harrington ได้นำไปใช้ในการปรับปรุง พัตนากิจการรถไฟสายแซนทาฟ ให้มีประสิทธิภาพ ปรากฏว่า ได้ผลดี สามารถประหยัดเงินได้ถึงวันละ 1 ล้านเหรียญ อเมริกัน


8.Abraham H.Maslow
Abraham H.Maslow
ชื่อทฤษฎี : ทฤษฎีลำดับขั้นของความต้องการ (Hierachy of Need Theory) หรือทฤษฎีการจูงใจ (Maslow's Theory of Motivation)
หลักการและแนวคิด
 Maslow เห็นว่าลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์แบ่งออกเป็น 5 ลำดับ ต่อไปนี้
1. ความต้องการทางร่างกาย (Physiological Needs)
2. ความต้องการทางด้านความปลอดภัย (Safety Needs)
3. ความต้องการทางด้านสังคม (Social Needs)
4. ความต้องการที่จะมีฐานะเด่นหรือชื่อเสียง (Esteem Needs)
5. ความต้องการที่จะให้ประสบความสมหวังในชีวิต (Self-Actualization Needs)
การนำไปใช้
     ทฤษฎี Maslow นำไปใช้ประโยชน์ได้เฉพาะบุคคลที่มีสุขภาพสมบูรณ์เหมือนบุคคลธรรมดาเท่านั้น บุคคลปกติส่วนมากในสังคมที่เจริญแล้ว ความต้องการทางด้านร่างกายและความปลอดภัยจะไม่เป็นสิ่งจูงใจ แต่ในสังคมที่มีความอดอยากและขาดแคลนอาหารแล้ว ความต้องการของคนประการแรกที่สุดคือ ความต้องการด้านร่างกาย กระทั่งในสังคมที่เจริญแล้ว ทฤษฎีของ Maslow ก็ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้โดยทั่ว ๆ ไป โดยความต้องการทั้งหมดจะมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงความมากน้อยของความต้องการและพฤติกรรมของบุคคลหนึ่ง การกระทำของบุคคลใดบุคคลหนึ่งยากที่จะมีแรงจูงใจด้วยความต้องการแต่เพียงอย่างเดียว


     9. Edward Damming
Edward Damming
     ดับเบิ้ลยู เอ็ดเวิร์ดส เดมมิ่ง (W. Edwards Deming) เป็นผู้นำแนวความคิดเชิงสถิติ (Statistical Thinking) และวิธีการปรับปรุงคุณภาพ (Methods for Quality Improvement) มาสู่ประเทศญี่ปุ่นหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในช่วงเวลานั้นวงการอุตสาหกรรมของประเทศสหรัฐอเมริกา เติบโตเป็นอย่างมาก เนื่องจากอเมริกาเป็นผู้ชนะสงคราม สินค้าทุกชนิดที่สามารถผลิตได้ ก็จะสามารถขายได้แน่นอน ต่างจากสถานการณ์ของญี่ป่นซึ่งเป็นผู้แพ้สงคราม ฐานสำคัญของอุตสาหกรรมซึ่งได้รับความเสียหายจากระเบิดปรมาณู กำลังถูกปรับปรุงขึ้นใหม่ ทรัพยากรธรรมชาติที่ได้รับความเสียหายก็มีน้อยลง และชื่อเสียงในการผลิตสินค้าที่ไม่ได้คุณภาพ ก็แพร่กระจายไปทั่ว ผู้บริหารของญี่ปุ่นจึงได้หันมาสนใจในแนวความคิดของเดมมิ่ง และได้เชิญเขามายังญี่ปุ่น ซึ่งผู้บริหารของญี่ปุ่นได้ทำความเข้าใจกับปรัชญาคุณภาพของเดมมิ่ง และนำหลักการทางสถิติมาใช้ในการปรับปรุงคุณภาพ
     เดมมิ่งพบว่าบรรยากาศของญี่ปุ่น เป็นไปในทางที่จะสนับสนุนแนวความคิดของเขา นั่นคือ ชาวญี่ปุ่นมีพื้นฐานทางสถิติและคณิตศาสตร์ที่ดี ผู้บริหารของญี่ปุ่นมีความกระตือรือร้น ที่จะฟังความคิดของเขา สิ่งแรกที่เขาบรรยายในการสัมมนา คือ กฎข้อบังคับและหน้าที่ของผู้บริหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีในนาม ปรัชญาคุณภาพ 14 ข้อของเดมมิ่ง (Deming’s 14 Points) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้บริหารจะต้องยึดถือและปฏิบัติเป็นอันดับแรก
ปรัชญาคุณภาพ 14 ข้อของเดมมิ่ง (Deming’s 14 Points)
1. สร้างวัตถุประสงค์แน่วแน่ในการปรับปรุงคุณภาพสินค้าและบริการ
2. นำเอาปรัชญาใหม่มาใช้: การไม่ยอมรับความไม่มีคุณภาพ
3. หยุดใช้หลักการตรวจสอบคุณภาพที่ตัวสินค้า: ปรับปรุงที่กระบวนการทำงาน
4. หยุดเลือกผู้ส่งมอบสินค้าที่ราคาถูกแต่เลือกโดยเน้นที่คุณภาพ
5. เป็นหน้าที่หลักของการจัดการที่จะปรับปรุง กระบวนการทำงาน สินค้า และบริการอย่างต่อเนื่อง
6. จัดให้มีการอบรม
7. จัดให้มีการพัฒนาผู้นำ: ช่วยเหลือ ชี้แนะ
8. กำจัดความเกลียดกลัว สอนให้กล้าถาม กล้าเสนอความเห็น กล้าคิดและกล้าทำ
9. กำจัดอุปสรรคการทำงานระหว่างส่วนงาน: สอนให้ทำงานเป็นทีม โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์และเป้าหมายองค์กรมากกว่าวัตถุประสงค์ของสายงานหรือส่วนงาน
10. เลิกใช้ Slogan ภาพรวมสำหรับพนักงาน: หากพนักงานทำงานเป็นทีมและต้องการมี Slogan ของทีม องค์กรต้องยอมให้ทำได้
11. เลิกเน้นที่จำนวนตัวเลข: เน้นที่คุณภาพ
12. กำจัดอุปสรรคที่ไม่เอื้อต่อการทำงานให้บรรลุเป้าหมาย: ไร้ภาวะผู้นำ ขาดการการอบรมที่เพียงพอ ขาดเครื่องมือ หรือกระบวนการทำงานไม่มีประสิทธิภาพ
13. จัดให้มีการให้ความรู้และอบรมแก่พนักงานทุกระดับทั้งผู้บริหารและพนักงานต้องมีการอบรมเรื่อง Total quality เครื่องมือทางสถิติ และการทำงานเป็นทีม
14. ลงมือทำ เพื่อให้การปรับเปลี่ยนองค์กร: คุณภาพเป็นเรื่องของทุกคน ทั้งผู้บริหารสูงสุด จนถึงพนังงานระดับล่างสุด ผู้นำต้องมีความมุ่งมั่นและสนับสนุนเรื่องคุณภาพ
วงจร PDCA หรือ วงจรเด็มมิ่ง
 PLAN วางแผน
- วางแผนการปฏิบัติงาน
- วางแผนการดำเนินงาน
- วางแผนการปรับปรุงงาน
 DO ปฏิบัติ
- ทำให้ถูกต้อง
- ตรวจสอบทุกขั้นตอน
 CHECK ตรวจสอบ
- ตรวจสอบวิธีการ
- ตรวจสอบระยะเวลา
- ประเมินผลการดำเนินงาน
 ACTION ปรับปรุง
- ประสบความสำเร็จ
- ข้อบกพร่อง
- การปรับปรุง
ข้อดีของ PDCA
- สามารถจัดการงานประจำวันได้ดีขึ้น
- สามารถแก้ไขปัญหาได้
- ช่วยในการปรับปรุงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
- ช่วยปรับเปลี่ยนการทดอลงกระบวนการใหม่


10.Chester barnard
CHESTER BARNARD
แนวคิด Barnard เป็นนักทฤษฎีสมัยปัจจุบัน โดยเขาได้ศึกษาวิเคราะห์องค์การในเชิงระบบตั้งแต่ปี ค.ศ.1938 แล้วนำมาเขียนหนังสือชื่อ “The Functions of the Executive” เป็นหนังสือที่เกี่ยวกับการบริหารองค์การในสมัยปัจจุบัน โดยเห็นว่าองค์การเป็นระบบสังคมที่เปลี่ยนแปลงได้ ภายในระบบดังกล่าวจะมีความเกี่ยวพันที่ประสานกันโดยมีเป้าหมายของการตอบสนองความต้องการส่วนบุคคล และเห็นว่าบุคคลแต่ละคน องค์การ ผู้ขาย และลูกค้า ต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสภาพแวดล้อม
หลักการ
1. เน้นความสัมพันธ์แบบไม่เป็นทางการ (Informal Organization)
2. มีการกระจายความพึงพอใจของบุคลากรในองค์การออกไปอย่างเท่าเทียมกัน (The contribution satisfaction equilibrium) : โดยเห็นว่าการสื่อสารในองค์การเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างดุลภาพของความต้องการระหว่างบุคคลกับองค์การ (Inducement) เพื่อโน้มน้าวให้บุคคลทำงานด้วยความต้องการขององค์การ ในจุดที่องค์การต้องสร้างความพึงพอใจแก่บุคคลในการทำงานด้วย
3. นักบริหารมีหน้าที่สำคัญ คือ
- ดูแลติดต่อประสานงานภายในองค์การ
- รักษาสมาชิกภายในและชักจูงสมาชิกใหม่
- กำหนดเป้าหมายขององค์การ และตีความเพื่อแสดงให้สมาชิกในองค์การได้รับรู้
- ใช้ศิลปะเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน
- ทำงานด้วยความรับผิดชอบ โดยใช้หลักของศีลธรรม
เครื่องมือนี้คืออะไร/ มีองค์ประกอบอะไร
     ชื่อทฤษฎี : องค์การไม่เป็นทางการ (Informal Organization) เป็นทฤษฎีการบริหารเชิงพฤติกรรม เป็นระบบความร่วมมือของมนุษย์ในการทำกิจกรรม โดยเน้นปัจจัยสำคัญด้านประสิทธิภาพและประสิทธิผล สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรบรรลุเป้าหมายจะทำให้เกิดความร่วมมือจากบุคลากร โดยมุ่งองค์กรเป็นระบบการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย
1. ความสำคัญของพฤติกรรมมนุษย์ (Importance of individual behavior)
2.  ทฤษฎีการให้ความร่วมมือของ Barnard (Barnard theory of compliance)
3. ทฤษฎีโครงสร้างขององค์การของ Barnard (Barnard theory of organization structure)
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
     ความคิดเห็นของ Barnard สามารถที่จะนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม ทั้งในแง่ขององค์การที่เป็นทางการ (Formal Organization) และไม่เป็นทางการ (Informal Organization) ซึ่งผลงานที่สำคัญของ Barnard คือ Functions of the Executive 1938 จากตรรกะทางความคิดที่ว่า องค์การ คือ ระบบความร่วมมือ ดังนั้น ถ้าจะนำองค์การให้บรรลุเป้าประสงค์ ผู้บริหารจัดการจะต้องทำหน้าที่ 3 ประการ คือ
 1. การสร้างและการดำรงรักษาระบบการสื่อสาร
 2. สร้างความมั่นใจด้านการบริการจากบุคลากรผู้เป็นสมาชิกองค์การ กำหนดจุดประสงค์และเป้าหมาขององค์การ
ข้อดี
ข้อเสีย
1. ก่อให้เกิดความร่วมมือ (cooperation)ในองค์การ
1. องค์การไม่เป็นทางการทำให้ยากต่อการควบคุม (สายการบังคับบัญชาไม่ชัดเจน)
2. การทำงานในองค์การเกิดประสิทธิภาพ (Efficiency)
2. หากบุคลากรขาดทักษะด้านการสื่อสารส่งผลให้เกิดปัญหาต่อการปฏิบัติงาน
3. บุคลากรสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารได้ อย่างทั่วถึง (เน้นระบบการสื่อสาร)
4. องค์การที่ไม่เป็นทางการทำให้การบริหารองค์การ มีความคล่องตัวและมีความยืดหยุ่น (Flexibility)
5. บุคลากรมีขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน
ใช้อย่างไร (หรือจัดทำอย่างไร)
     ทฤษฎีของ Barnard เป็นทฤษฎีการบริหารจัดการเชิงพฤติกรรม Barnard ได้กล่าวถึงหน้าที่ สิ่งที่กระตุ้นจูงใจ (Authority and incentives) เกี่ยวกับบริบทระบบการสื่อสารในองค์กร คือ
1. ช่องทางการสื่อสารต้องกำหนดขอบเขตให้แน่นอน
2. 2. บุคลากรทุกคนต้องรู้ช่องทางการสื่อสาร
3. บุคลากรทุกคนต้องสามารถเข้าถึงช่องทางการสื่อสาร ที่เป็นทางการ
4. สายบังคับบัญชาการสื่อสารต้องสั้นและตรงให้มากที่สุด
5. บุคลากรต้องมีศักยภาพเพียงพอสำหรับการสื่อสาร
6. ต้องไม่มีอุปสรรคในสายบังคับบัญชาการสื่อสาร เมื่อองค์การปฏิบัติงาน
7. การสื่อสารทุกรูปแบบต้องเกิดผลน่าเชื่อถือ
มีใครนำเครื่องมือนี้ไปใช้บ้าง และได้ผลสรุปอย่างไร
     ทั้งองค์กรภาครัฐและเอกชน ที่ต้องการสร้างระบบความร่วมมือขึ้นระหว่างองค์การกับคน และองค์การกับสภาพแวดล้อม และจูงใจพนักงานให้ร่วมมือกันทำงาน รวมถึงการสร้างดุลยภาพระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา


11. Frederick Herzberg
Frederick Herzberg
ชื่อทฤษฎี่ : ทฤษฎีสองปัจจัย (Two-factors Theory) หรือทฤษฎีการจูงใจของเฮิร์กเบิร์ก (Herzberg's Theory of Motivation)
หลักการและแนวคิด
 Herzberg ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการทำงานของบุคลกรในองค์การ โดยศึกษาถึงทรรศนะคติของบุคคลที่มีต่อการทำงานเพื่อหาทางที่จะลดความไม่พอใจในการทำงาน เพื่อที่จะทำให้คนงานมีความรู้สึกที่ดีในการที่จะพยายามเสริมสร้างผลผลิตของงานให้มากขึ้น เขาพบว่าปัจจัยที่มีผลกระทบต่องานแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
 1. ปัจจัยจูงใจ (Motivates Factors) เป็นปัจจัยกระตุ้นให้คนทำงาน โดยเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่ดีที่จะเกิดขึ้นกับพนักงาน อันจะทำให้พนักงานมีความพึงพอใจเกี่ยวกับงานที่จะทำ
 2. ปัจจัยอนามัย (Hygiene or Maintenance Factors) เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่จะสร้างความไม่พอใจในการทำงานให้กับพนักงาน ซึ่งจะเป็นตัวสกัดกั้นไม่ให้เกิดแรงจูงใจในการทำงานขึ้นได้ หรือเป็นข้อกำหนดเบื้องต้นที่จะป้องกันมิให้คนไม่พอใจในงานที่ทำอยู่
ปัจจัยจูงใจ (Motivators)
1. ความสำเร็จในชีวิต (Achievement)
2. การเป็นที่ยอมรับของบุคคลทั่วไป (Recognition)
3. งานที่มีความรับผิดชอบ (Responsibility)
4. งานที่ทำแล้วมีโอกาสก้าวหน้า (Advancement)
5. ตำแหน่งงานที่ดี (Work Itself)
6. งานมีความสุข (Growth)
ปัจจัยอนามัย (Hygiene)
1. นโยบายและการบริหารที่ดี
2. การควบคุมงาน
3. ความสัมพันธ์กับหน้าที่
4. เงื่อนไขการทำงานที่ดี
5. เงินเดือนดี
6. ความสัมพันธ์ฉันท์มิตร
7. การมีชีวิตส่วนตัวที่ดี
8. ความสัมพันธ์แวดล้อมอื่น ๆ
9. สถานะภาพของตนเองในงาน
10. ความมั่นคงปลอดภัย
การนำไปใช้
 ตามทฤษฎีนี้ ปัจจัยทั้ง 2 จำพวกนี้ Herzberg เห็นว่า "Motivatiors" เป็นสื่อที่น่าสนใจมากกว่า เพราะเขามองเห็นในแง่ที่ว่า Motivatiors เปรียบเสมือนกับทฤษฎี Y



12. Franklin D.Roosevelt (FDR)
Franklin D.Roosevelt (FDR)
องค์ประกอบของ New Deal
3 Rs คือ
1. Relief 2. Recovery 3. Reform
เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร
1. ปฎิรูประบบเศรษฐกิจและสังคมในช่วงสภาวะวิกฤติเศรษฐกิจตกต่ำ
2. ให้ประชาชนทุกชนชั้นอยู่ด้วยกันอย่างกลมเกลียวและสันติ
3. ผลักดันให้เกิดองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศที่เรียกว่าองค์การสหประชาชาติ
ข้อดี และข้อเสียของ New Deal
ข้อดี....
- เป็นมาตรการที่ช่วยสร้างงานให้ประชาชนและผันเงินเข้าสู่ชนบท
- มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ
- เป็นการจัดการที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่าย
- เป็นการจัดการใหม่ที่ให้ความหวังแก่คนทั้งประเทศให้สู้กับสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
ข้อเสีย....
1. เป็นการรวมศูนย์อำนาจเข้าสู่รัฐบาลกลางมากเกินไป
2. นโยบายหลาย ๆ โปรแกรมไม่ใช่แนวทางของอเมริกันตามกรอบของรัฐธรรมนูญ
ขั้นตอนการจัดทำ
- วิเคราะห์ตามสภาวะเศรษฐกิจ โดยเร่งดำเนินการจัดทำในกรณีเร่งด่วนเป็นอันดับแรก
- ประชุมคณะรัฐบาลและที่ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญแต่ละด้าน
- กำหนดนโยบายการบริหารจัดการตามวาระเร่งด่วน
- นำนโยบายสู่ภาคปฏิบัติตามรัฐต่าง ๆ จากส่วนกลาง สู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึงและโปร่งใส
กรณีศึกษา
การบริหารการศึกษาในระดับสถานศึกษาในสหราชอาณาจักร


13.Elton Mayo
Elton Mayo
Elton Mayo เป็นหัวหน้า Department of Industrail Relations Research ของบัณฑิตวิทยาลัยด้านการบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ได้ร่วมกับ J.E. Roethlisberger ศาสตราจารย์วิชามนุษยสัมพันธ์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ทำการศึกษาทดลองเกี่ยวกับการทำงานของพนักงานขึ้น โดยสนใจปัญหาความเหนื่อย อุบัติเหตุ และการเปลี่ยนแปลงงานของคนงาน เช่น ความสกปรกของโรงงาน และการถ่ายเทอากาศ เป็นต้น
1. ชื่อการศึกษาทดลอง : Hawthome Experiment ประกอบด้วยโครงการดังนี้
 - The illumination Study
 - The Relay assembly Test Room Study
 - The Interviewing Programme
 - The Blank Writing Observation Room Strdies
2. สรุปผลการทดลอง
 - คนมีความต้องการทางสังคม ต้องการเพื่อน และต้องการให้ผู้อื่นรับรู้ในความสำคัญ
 - กลุ่มมีทุกระดับขององค์การ โดยบุคคลจะยินยมให้กลุ่มครอบงำพฤติกรรม
 - ค้นพบความสำคัญขององค์การนอกรูปแบบ หรือองค์การที่ไม่เป็นทางการ
 - ผู้นำมีบทบาทสำคัญในการกำหนดพฤติกรรมการทำงานแบบของผู้นำมี 2 รูปแบบ คือ
 - แบบชอบอำนวยการ (Initiating Structure)
 - แบบเห็นใจและเข้าใจผู้อยู่ใต้บังคับบัญชา (Consideration)
 - อาศัยหลักวิธีการที่ดีที่สุดในการติดต่อสัมพันธ์กัน
การนำไปใช้
 1. พบว่าการบริหารงานในองค์การควรมีลักษณะการกระจายอำนาจ
 2. การบริหารงานแบบมีส่วนร่วม เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการบริหารองค์การ เพราะจะทำให้คนงานมีขวัญและกำลังใจในการทำงานที่ดี
 3. ควรมีการปรึกษาหารือกันเสมอระหว่างผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชา เพื่อก่อให้เกิดการติดต่อสื่อสารแบบ Two-ways Communication



14.Thomas J.Peters
Thomas J.Peters
 แนวคิดนักบริหารกับมิติการจัดการ : Thomas J. Peters ผลงานที่ยอดเยี่ยม คือ Insearch of Excellence
คุณสมบัติที่ทำให้องค์กรเป็นเลิศ 8 ประการ
1. การมุ่งเน้นที่การปฏิบัติ (Bias for Action)
2. การมีความใกล้ชิดกับลูกค้า (Close to the Customer)
3. การให้ความอิสระในการทำงานและสร้างความรู้สึกเป็นเจ้าของกิจการ (Autonomy and Entrepreneurship)
4. การเพิ่มผลผลิตโดยพนักงาน (Productivity Through People)
5. การติดตามงานอย่างใกล้ชิดและการใช้ค่านิยมเป็นแรงผลักดัน (Hands-on and Value Driven)
6. การทำแต่ธุรกิจที่มีความเชี่ยวชาญ (Stick to the Knitting)
7. การมีรูปแบบที่เรียบง่ายและใช้พนักงานอย่างมีประสิทธิภา (Simple Form and Lean Staff)
8. การเข้มงวดและผ่อนปรนในเวลาเดียวกัน (Simultaneous Loose tight Properties)
องค์ประกอบองค์การแห่งความเป็นเลิศ


15. Peter F.Drucker
Peter F.Drucker
 Peter F. Drucker ปรมาจารย์ทางด้านการจัดการเสียชีวิตไปเมื่อ 11พฤศจิกายน 2548 ด้วยวัย 95 ปีตลอดระยะเวลาการใช้ชีวิตเกือบทศวรรษของ Drucker ได้รับการยอมรับจากสังคมในฐานะผู้นำเสนอความรู้ใหม่ให้กับโลกธุรกิจและด้านการจัดการออกมาเป็นระยะๆ ซึ่งครั้งใดที่เขาออกมาแสดงบทบาทมักจะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากทั้งนักบริหารธุรกิจในภาคเอกชน ภาครัฐ และรวมทั้งนักบริหารจากองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร และนำแนวคิดนั้นมาวางแผนบริหารธุรกิจของตนเอง ชื่อเสียงของ Drucker เริ่มเป็นที่รู้จักในวงกว้างตั้งแต่เขาตีพิมพ์หนังสือเล่มแรก The End of Economic Man, The Origin of Totalitarianism ในปี 1939 ซึ่งเป็นหนังสือเล่มโปรดของ Winston Churchill อดีตนายกรัฐมนตรีอังกฤษ และ 6ปีจากนั้นเริ่มสร้างชื่อให้เป็นที่ยอมรับในโลกธุรกิจและการจัดการจากหนังสือเรื่อง Concept of the Corporation และโด่งดังสุดๆกับ The Practice of management หนังสือการจัดการองค์กรสมัยใหม่ที่ยังนำมาประยุกต์ใช้กับองค์กรต่างๆได้จนกระทั่งปัจจุบัน
 18 Famous Quotes by Peter F. Drucker “Quality in a product or service is not what the supplier puts in. It is what the customer gets out and is willing to pay for. A product is not quality because it is hard to make and costs a lot of money, as manufacturers typically believe. This is incompetence. Customers pay only for what is of use to them and gives them value. Nothing else constitutes quality.” Quality Quotes
 “Commitment in the face of conflict produces character.” Commitment Quotes “Efficiency is doing things right; effectiveness is doing the right things.” Efficiency Quotes “Mentor: Someone whose hindsight can become your foresight” Foresight Quotes


16.William G.Ouchi:Z
William G.Ouchi
William G. Ouchi ศาสตราจารย์ใน University of California at Los Angeles (UCLA) และได้รับทุนให้ทำการศึกษาจากสถาบัน National Commission On Productivity
 ทฤษฎี Z เป็นทฤษฎีทางการบริหารธุรกิจ ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสานระหว่างการบริหาร ธุรกิจแบบสหรัฐอเมริกา หรือ Theory A กับการบริหารแบบญี่ปุ่น หรือ Theory J ทฤษฎี Z เป็นทฤษฎีบริหารงานที่ได้รับ การยอมรับในวงการบริหารในยุคปัจจุบัน โดยเน้นความร่วมมือในการทำงานของคนงานและเน้นหลักมนุษยสัมพันธ์เป็นสำคัญ
แนวคิดทฤษฎี Z ของ Ouchi
 ทฤษฎีของ Z ของ Ouchi (Ouchi’s Theory Z) เป็นทฤษฎีอธิบายโครงสร้างตามการจัดการ ผสมผสานระหว่างการบริหารแบบสหรัฐอเมริกาหรือ Theory A กับการบริหารแบบญี่ปุ่น หรือ Theory J คือ
ทฤษฎี A เป็นแนวความคิดการจัดการของสหรัฐอเมริกาซึ่งองค์การ เน้นการจ้างงานระยะสั้น พนักงานมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อองค์การน้อย
ทฤษฎี J เป็นแนวความคิดการจัดการของญี่ปุ่นซึ่งองค์การเป็นการจ้างงานตลอดชีพ พนักงานมีส่วนร่วมและความรับผิดชอบต่อองค์การสูง
ทฤษฎี Z เป็นแนวความคิดการจัดการประสมประสาน ระหว่างญี่ปุ่นและ สหรัฐอเมริกาโดยเน้นการจ้างงานระยะยาวมีการตัดสินใจและความรับผิดชอบร่วมกัน


17. Robert E. Wood
Robert E. Wood
 Robert E. Wood ต่างพยายามสร้างเครื่องมือที่ใช้เป็นกฎเกณฑ์ทางการจัดการ ที่เป็นรูปธรรมขึ้นมา แต่ช่วงนั้นได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นเสียก่อนในระหว่างสงครามโลกหน่วยงานทางทหารต้องเผชิญ กับปัญหาที่มีความซับซ้อน ทั้งในด้านการจัดระเบียบประชาชนและการส่งกำลังบำรุง
การจัดการเชิงประมาณ(Quantitative management)
     เพื่อช่วยในการตัดสินใจ โดยใช้คณิตศาสตร์ สถิติและสารสนเทศเป็นเครื่องมือเพื่อแก้ปัญหาทางการจัดการ หลังสงความโลกการจัดการเชิงปริมาณได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายมากขึ้นในแวดวงธุรกิจ อย่างไรก็ตามการใช้การจัดการเชิงปริมาณยังคงใช้ได้เฉพาะปัญหาที่มีลักษณะเป็นแบบที่มีโครงสร้าง(structured problem) ทฤษฎีวิทยาการจัดการ เป็นวิธีการสมัยใหม่ในด้านการจัดการ ที่เน้นการใช้เทคนิคเชิงปริมาณอย่างเข้มงวด เพื่อช่วยให้ผู้จัดการทำการใช้ทรัพยากรองค์การ เพื่อผลิตผลิตภัณฑ์และบริการให้มากที่สุด ในส่วนประกอบที่สำคัญของทฤษฎีวิทยาการจัดการ คือการขยายการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ให้มีความทันสมัย โดยการนำวิธีการเชิงปริมาณเพื่อวัดส่วนประสมของคนงานและงาน เพื่อให้ทีประสิทธิภาพสูงขึ้น
     สำหรับส่วนประกอบที่สำคัญของทฤษฎีวิทยาการจัดการ คือ การขยายการจัดการแบบวิทยาศาสตร์ ให้มีความทันสมัย โดยการนำวิธีการเชิงปริมาณเพื่อวัดส่วนประสมของคนงานและงาน เพื่อให้ทีประสิทธิภาพสูงขึ้น แบ่งเป็น 4 กลุ่ม
1. การจัดการเชิงปริมาณ (Quantitative management) โดยใช้เทคนิคคณิตศาสตร์ เช่น โปรแกรมเชิงเส้นตรงและไม่ใช่เส้นตรง (linear and nonlinear programming) ตัวแบบ (modeling) แบบจำลองสถานการณ์ (simulation) และทฤษฎีแถวคอย (queuing theory) เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อช่วยในการตัดสินใจของผู้จัดการ
2. การจัดการการดำเนินการผลิต (Operations management) ซึ่งประกอบด้วย เทคนิคต่าง ๆ ที่ผู้จัดการสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์ลักษณะระบบการผลิตขององค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่น แบบจำลองสินค้าคงคลัง (inventory model) และแบบจำลองเครือข่าย (network model) เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจปัญหาการจัดจำหน่ายและการดำเนินการ
3. การจัดการคุณภาพโดยรวม (Total Quality Management:TQM)
 เป็นการจัดการคุณภาพของหน่วยงานในองค์การทั้งหมด ซึ่งประกอบได้ด้วยฝ่ายต่างๆ ที่ผู้จัดการสามารถนำเทคนิคต่าง ๆ ไปใช้ในการวิเคราะห์ระบบการผลิตในองค์การเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ เช่นแบบจำลองสินค้าคงคลัง(inventory model) และแบบจำลองเครือข่าย(network model)เพื่อปรับปรุงการตัดสินใจปัญหาการจัดจำหน่าย โดยะเน้นการวิเคราะห์ปัจจัยนำเข้าในกระบวนการเพื่อแปรสภาพให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพของผลิตภัณฑ์
4. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (management information systems)
 เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้จัดการออกแบบระบบสารสนเทศ เพื่อจัดสารสนเทศเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นทั้งภายในและภายนอกองค์การ เพื่อประกอบการตัดสินใจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิผล ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการยังช่วยให้ผู้จัดการและบุคลากรในระดับต่างๆ ได้รับสารสนเทศที่จำเป็นต่อการนำไปใช้ประโยชน์และมีส่วนร่วมในกระบวนการตัดสินใจอย่างไรก็ตามในการนำทฤษฎีวิทยาการจัดการไปใช้ประโยชน์นั้น ในปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศ(information technology)ได้เข้ามามีส่วนในการปรับปรุงคุณภาพการตัดสินใจและเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลขององค์การได้เป็นอย่างดี และถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการเพิ่มความได้เปรียบในการแข่งขันให้กับองค์การ


18. James Thompson
James Thompson
 แนวคิดและทฤษฎีการจัดการ
      ทฤษฎีเชิงระบบ (systems theory) (ปี 1960) เป็นวิธีการจัดการที่ผสมผสานหน้าที่ในการจัดการกิจกรรมการจัดการและการวางแผนเชิงกลยุทธ์เข้าด้วยกัน โดยพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมภายนอก ทรรศนะที่อธิบายถึงผลกระทบจากสภาพแวดล้อมภายนอกที่มีต่อองค์การถูกเสนอโดย แดเนียล แคทซ์
      โรเบิร์ต คาห์น (Robert Kahn) และเจมส์ ธอมป์สัน (James Thompson) นักทฤษฎีเหล่านี้มีมุมมองว่าองค์การเป็นระบบเปิด (open system) ซึ่งถือเป็นระบบที่องค์การได้นำทรัพยากรจากสภาพแวดล้อมภายนอกมาแปรสภาพเป็นสินค้าและบริการ เพื่อส่งกลับไปยังสภาพแวดล้อมในที่ซึ่งสินค้าและบริการได้ขายให้กับลูกค้า นอกจากนั้นผู้นำทางทฤษฎีเชิงระบบเช่น ริชาร์ด จอร์นสัน (Richard Johnson) ฟรีมอนด์ แคสท์ (Fremont Kast)และเจมส์ โรเซนซ์เวจ (James Rosenweig)
แนวคิดเกี่ยวกับองค์การของ James D.Thompson
* องค์การเป็นระบบเปิดที่ทำงานในสภาพที่ ไม่แน่นอน
* องค์การพยายามดำเนินงานโดยใช้ความมีเหตุผล เพื่อเป็นการสร้างแน่นอนในการ
* องค์การจะต้องคอยปรับตัวเพื่อให้ทำงานได้ดีที่สุดในสภาพแวดล้อมที่ไม่แน่นอน
องค์การจะจัดการกับความไม่แน่นอนโดยการแบ่งหน้าที่ออกเป็น 3 ส่วน คือ
- ส่วนเทคนิค
- ส่วนจัดการ
- ส่วนสถาบัน


19.Lyndall Urwick
Lyndall Urwick
      Lyndall Urwick เกิดเมื่อวันที่ 3 มีนาคม 1891 (พ.ศ. 2434) ที่ Worchectershire ประเทศอังกฤษเป็นชาวอังกฤษสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีจาก Oxford จุดเน้นทฤษฎีองค์กร หรือ Organization Theory การทำงาน ตามปกติเมื่อพูดถึง Urwick ก็ต้องพูดถึง Gulick พร้อมๆกันเพราะผลงานของทั้งสองเป็นที่โด่งดังในเรื่อง ทฤษฎีองค์กร หรือ organization theory Urwick เสียชีวิตเมื่อ 5 ธันวาคม1983 (พ.ศ. 2526)
กระบวนการบริหารตามทฤษฎี
      เป็นที่กล่าวกันว่าแนวความคิดนี้ประยุกต์เพิ่มเติมมาจากแนวความคิดที่ปรมาจารย์ Henri Fayol ท่านบัญญัติเอาไว้โดยต่อยอดให้ชัดเจนขึ้น แนวความคิดจึงค่อนไปทาง bureaucratic อยู่บ้างใน The Theory of Organization มีคำย่อออกมาสู่สายตาชาวโลก คือ POSDCoRB
P = Planning หรือ การวางแผน
O = Organizing หรือการจัดองค์กร
S = Staffing หรือ การจัดคนเข้าทำงาน
D = Directing หรือ การสั่งการ
Co = Co-ordinating หรือการประสานงาน
R = Reporting หรือ การรายงาน
B = Budgeting หรือการงบประมาณ


20.Hugo Munsterberg
Hugo Munsterberg
      Hugo Munsterberg ( ปี 1863 – 1916 ) เกิดวันที่ 1 มิถุนายน 1863 ที่เมือง Danzig ประเทศ Germany การศึกษา 1882 ที่ University of Geneva University of leipzig
      มันสเตอร์เบิร์ก เป็นนักจิตวิทยาของสถาบันฝึกอบรม วิลเลียม เจมส์ (William James) นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน ได้เชิญมันสเตอร์เบิร์กไปสอนที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เป็นที่ที่เขาได้ทดลองประยุกต์ใช้ทฤษฎีเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ประกอบด้วย การรับรู้ และความเอาใจใส่เขามีชื่อเสียงมากในวงการศึกษาของชาวอเมริกันเขาได้ถูกเชิญให้ไปบรรยายตามที่ต่างๆ และเป็นเพื่อนกับประธานาธิบดีรูสเวลท์ (Theodore Roosevelt) มันสเตอร์เบิร์กให้ความสนใจกับการประยุกต์จิตวิทยามาใช้ในการแก้ปัญหาในการทำงานศึกษาความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยมันสเตอร์เบิร์กเชื่อว่าจิตวิทยาสังคมสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับปัญหา ในทางปฏิบัติของอุตสาหกรรมหนึ่งของ มันสเตอร์เบิร์ก ที่นำมาใช้ทุกวันนี้มีการศึกษาเกี่ยวกับการตัดสินใจทำให้คนขับรถบรรทุกมีความปลอดภัย เขาศึกษาอย่างเป็นระบบในลักษณะทั้งหมดของการทำงาน การพัฒนา ห้องปฏิบัติการที่ประดิษฐ์รถบรรทุก และรวมทั้งผู้ปฏิบัติการที่ดีสามารถเข้าใจพร้อมกันทั้งหมดเกี่ยวกับความก้าวหน้าของรถยนต์

สิ่งที่สร้างชื่อเสียงให้กับ Hugo Munsterberg
      เป็นบุคคลที่มีชื่อเสียงในการคิดค้นทฤษฎีองค์การสมัยใหม่เป็นผู้เริ่มต้นวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม เขียนหนังสือชื่อ Psychology and Industrial Efficiency,Hugo Munsterberg จึงได้ชื่อว่าเป็น บิดาแห่งจิตวิทยาอุตสาหกรรม
แนวคิดของ Hugo Munsterberg
      แนวคิดเชิงพฤติกรรม (The Behavior Viewpoint) เน้นถึงความสำคัญของการเข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์และการจูงใจเพื่อความสำเร็จ
      Hugo Munsterberg เป็นผู้ริเริ่มวิธีการเกี่ยวกับจิตวิทยาอุตสาหกรรมหรือโรงงาน หรือการศึกษาทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับบุคคล เพื่อปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตให้มากที่สุดการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ จะเป็นเทคนิคที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับโน้มน้าวจิตใจหรือดึงดูดใจคนทำงาน
ผลงานของที่สร้างชื่อให้ Hugo Munsterberg “Psychology and Industrial Efficiency”
สาระสำคัญ “Psychology and Industrial Efficiency”
- ใช้วิธีการสรรหาบุคลากรที่มีคุณภาพด้านจิตใจและคุณสมบัติเหมาะสมที่สุดที่จะทำงานนั้น
- ใช้วิธีการส่งเสริมสภาวะทางจิตวิทยาของคนในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อจูงใจให้คนงานทุกระดับมีความสามารถ
- สร้างผลผลิตได้อย่างเต็มความสามารถเพื่อก่อให้เกิดผลผลิตสูงสุด และเป็นที่น่าพอใจโดยมีการฝึกอบรมคนงานเพื่อให้
- เกิดการเรียนรู้และนำประสบการณ์ใหม่ๆ มาใช้ทดแทนอย่างเหมาะสม
- การให้ข้อเสนอแนะในการฝึกอบรมคนงาน การบรรจุ แต่งตั้ง หรือการทำให้เกิดอิทธิพลต่อคนงานหรือจูงใจเพื่อให้
- เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สูด คือ ค่านิยมร่วมกัน ระหว่างผู้บริหารและคนงาน


21.Richard Johnson
Richard Johnson
แนวความคิด : ทฤษฎีเชิงระบบ
แนวคิดหลัก (key concepts)
* องค์การถูกพิจารณาเป็นระบบเปิด
* การบริหารจัดการต้องมีปฏิกิริยาสัมพันธ์กับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ ปัจจัยนำเข้าไปสู่ผลผลิต
* วัตถุประสงค์ขององค์การจะต้องมุ่งที่ประสิทธิภาพและประสิทธิผล
* องค์การจะประกอบด้วยระบบย่อยจำนวนมาก
* มีหลายช่องทางที่จะได้ผลลัพธ์เหมือนกัน
* การรวมตัวจะมีขนาดใหญ่กว่าผลรวมของแต่ละชิ้นส่วน
ส่วนประกอบของแนวคิดเชิงระบบ
1. เป้าหมาย (Goals) และทรัพยากร (Resources)
2. องค์การ(Organization)และการประสานงาน(Coordination)
3. การแก้ไขปัญหา (Solutions) และแนวคิด (Perspectives)
สิ่งที่ให้ประโยชน์ (contribution)ทำให้ยอมรับความสำคัญของความสัมพันธ์ระหว่างองค์การกับสภาพแวดล้อมภายนอก
ข้อจำกัด ไม่สามารถให้คำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงในหน้าที่และงานของผู้บริหาร


22.Luther Gulick
Luther Gulick
ความเป็นมา
     เกิดเมื่อวันที่ 17 มกราคม ค.ศ. 1892 ที่เมือง Osaka ประเทศญี่ปุ่นเป็นชาว American แต่เนื่องจากบิดาเป็นMissionary ที่นั่น Gulick จึงอาศัยอยู่ที่ Osaka ต่อมานักวิชาการด้านรัฐประสาสนศาสตร์มีความเห็นร่วมกันว่า ทฤษฎีแนวความคิดหลักการบริหารได้เจริญถึงจุดสุดยอดในปี ค.ศ. 1937 อันเป็นปีที่ Gulick และ Urwick ได้ร่วมกันเป็นบรรณาธิการหนังสือชื่อ Papers on the Science of Administration : Notes of the Theory of Organization โดยเสนอแนวคิดกระบวนการบริหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ชื่อว่า ‘ POSDCoRB” อันเป็นคำย่อของภาระหน้าที่ที่สำคัญของนักบริหาร 7 ประการ
ทฤษฎี : กระบวนการบริหาร POSDCoRB
      กูลิค และ เออร์วิกค์ ได้รวบรวมแนวคิดทางด้านการบริหารต่าง ๆ เอาไว้ในหนังสือชืื่อ "Paper on the Science of Administration ) โดยเสนอแนวคิดกระบวนการบริหาร ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดีชื่อว่า "POSDCoRB" ภาระหน้าที่ที่สำคัญของนักบริหาร 7 ประการ คือ
1. Planning การวางแผน เป็นการวางเค้าโครงกิจกรรมซึ่งเป็นการเตรียมการก่อนลงมือปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินการสามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. Organizing การจัดองค์การ เป็นการกำหนดโครงสร้างขององค์การ โดยพิจารณาให้เหมาะสมกับงาน เช่น การแบ่งงาน (Division of Work) เป็นกรม กอง หรือแผนก โดยอาศัยปริมาณงาน คุณภาพงาน หรือจัดตามลักษณะเฉพาะของงาน (Specialization)
3. Staffing การจัดบุคลากรปฏิบัติงาน เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ในองค์การนั่นเอง ทั้งนี้เพื่อให้บุคลากรมาปฏิบัติงานอย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับการจัดแบ่งหน่วยงานที่กำหนดไว้
4. Directing การอำนวยการ เป็นภาระกิจในการใช้ศิลปะในการบริหารงาน เช่น ภาวะผู้นำ (Leadership) มนุษยสัมพันธ์ (Human Relations) การจูงใจ (Motivation) และการตัดสินใจใจ (Decision making) เป็นต้น
5. Coordinating การประสานงาน เป็นการประสานให้ส่วนต่าง ๆ ของกระบวนการทำงานมีความต่อเนื่องกัน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และราบรื่น
6. Reporting การรายงาน เป็นกระบวนการและเทคนิคของการแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาตามชั้นได้ทราบถึงผลการปฏิบัติงาน โดยที่มีีความสัมพันธ์กับการติดต่อสื่อสาร (Communication) ในองค์การอยู่ด้วย
7. Budgeting การงบประมาณ เป็นภารกิจที่เกี่ยวกับการวางแผนการทำบัญชีการควบคุมเกี่ยวกับการเงินและการคลัง
การนำไปใช้ สาระสำคัญของแนวคิดของ Gulick&Urwick เกี่ยวกับ POSDCoRB ก็คือ ประสิทธิภาพ อันเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดของการบริหาร และเพื่อให้การบริหารงานในทุกหน่วยงานมีประสิทธิภาพ จะต้องมีการแบ่งงานกันทำตามความเหมาะสมและความจำเป็น หรือความถนัดของคนงาน โดยแบ่งหน่วยงานออกตามกระบวนการ วัตถุประสงค์ ลูกค้า และพื้นที่โดยทุกหน่วยงานจะต้องจัดรูปแบบองค์การเป็นรูปสามเหลี่ยมปิรามิด มีสายการลังคับบัญชาถอยหลั่นกันมา



23.Frank B. Gilbreth & Lillian Gilbreth
Frank B. Gilbreth & Lillian Gilbreth
     ความเป็นมา ผู้สนับสนุนแนวคิดของ Taylor อีก 2 ท่าน คือ Frank B. Gilbreth (ค.ศ.1868-1924) และ Lillian Gilbreth (ค.ศ.1978-1972) Frank B. Gilbreth ได้ออกจากมหาวิทยาลัยมาเป็นช่างก่อสร้างในปี ค.ศ.1855 ขณะมีอายุ 17 ปี สิบปีต่อมาเขาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นหัวหน้าควบคุมดูแลการก่อสร้างอาคารของบริษัท และเป็นผู้รับเหมาก่อสร้างเอง ในช่วงที่เป็นอิสระจากงานของ Taylor เขาสนใจเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนไหวในการทำงาน โดยลดจำนวนการเคลื่อนที่ในการเรียงอิฐ เขาสร้างความเป็นไปได้ของการทำงานของผู้เรียงอิฐที่ได้งานเป็นสองเท่าของปกติ
 ในการทำงานของ Frank B. Gilbreth ได้รับความช่วยเหลือและสนับสนุนโดยภรรยาของเขา คือ Lillian ซึ่งเป็นนักจิตวิทยาอุตสาหกรรม เก้าปีหลังจากการแต่งงาน (ในปี ค.ศ.1924) Frank B. Gilbreth ได้เสียชีวิต Lillian เป็นที่ปรึกษาธุรกิจและได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ว่าเป็นสภาพสตรีคนแรกของการจัดการธุรกิจ จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่ออายุได้ 93 ปี
     องค์ประกอบ Lillian Gilbreth สนใจในการทำงานของมนุษย์ ส่วนสามีสนใจในประสิทธิภาพในการทำงาน (การค้นหาวิธีที่ดีที่สุดในการทำงาน) Frank ได้ประยุกต์ใข้การบริหารจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ (Scientific management principles) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1) เป็นการวิเคราะห์ทุก ๆ กิจกรรมของแต่บุคคลที่มีความจำเป็นในการปฏิบัติงานโดยเฉพาะงานที่มีความสำคัญ
2) เป็นการค้นหาวิธีการที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงานเพื่อเป็นกิจกรรมประกอบแต่ละอย่าง
3) มีการปฏิรูปกิจกรรมที่เป็นส่วนประกอบ ซึ่งเป้นกิจกรรมที่สามารถปฏิบัติให้มีประสิทธิภาพได้ คือใช้ต้นทุนและเวลาน้อยที่สุด
     ข้อดี Time and motion study หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การศึกษาการทำงาน (Work study) เป็นเครื่องมือที่ช่วย
1. ลดความสูญเปล่า ทั้งด้านเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการทำงาน
2. ผลผลิตในการทำงานเพิ่มขึ้น



24.Micheal Hammer
Michael Hammer
     ความเป็นมา Michael Hammer เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1948 and James Champy ผู้มีแนวคิดกับการ Re-Engineering กล่าวคือวงการธุรกิจในอเมริกา กำลังตกอยู่ในภาวะวิกฤตที่ต้องแสวงหาวิธีการใหม่ ที่พลิกฟื้นสถานการณ์โดยเร็วที่สุด ซึ่งมีพลังผลักดัน 3 ประการคือ (1) ลูกค้า (Customer) (2) การแข่งขัน (Competitions) และ (3) การเปลี่ยนแปลง (Change) ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงแบบถอนรากถอนโคนในหมู่นักบริหารปัจจุบัน ตลอดจนได้มีการเปลี่ยนกรอบเค้าโครงของความคิด ( Paradigm )จากที่เคยเฉื่อยชา ต้องเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่งทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมและโลกในยุคโลกาภิวัฒน์ ( Globalization ) ความหมายและแนวคิด ดร.รุ่ง แก้วแดง ได้อธิบายความหมายของคำว่า การรื้อปรับระบบไว้ในหนังสือ รีเอ็นจิเนียริ่งระบบราชการไทย ตามแนวคิดของ Hammer กับ Champy และหนังสือ Reengineering the Corporation ของ แฮมเบอร์กับแชมปี แปลโดยปริทรรศน์ พันธุบรรยงก์ ว่าการรื้อปรับระบบ หมายถึงการพิจารณาหลักการพื้นฐานของธุรกิจและการคิดหลักการขึ้นใหม่ ชนิดถอนรากถอนโคน ปรับกระบวนการธุรกิจใหม่เพื่อให้บรรลุถึงผลลัพธ์ของการปรับปรุงอันยิ่งใหญ่ คือ เป้าหมายขององค์กร โดยใช้ตัวชี้วัดผลการปฏิบัติงานที่ทันสมัยและสำคัญที่สุดใน 4 ด้าน คือ ต้นทุน คุณภาพ การบริการ และความเร็ว โดยมีคำศัพท์ที่เป็นหัวใจสำคัญของรื้อปรับระบบ 4 คำศัทพ์คือ
1. การรื้อปรับระบบ
* •Rethink
* Redesign
* Retools
* Rehumaneering



25. Frederic W.Taylor
Frederic W.Taylor
     ความเป็นมา เทเลอร์ ได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาของการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (The Father of Scientific Management) ซึ่งเมื่อมองจากประวัติส่วนตัวของเขาแล้วจะพบว่า Taylor เริ่มต้นจากการเป็นนายช่างในปี 1875 และเข้าร่วมงานกับ Midvale Steel Works ในฟิลาเดเฟียเมื่อปี 1878 จากนั้นก็เลื่อนไปสู่ตำแหน่งหัวหน้างานวิศวกรรมภายหลังจากที่สำเร็จการศึกษาทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ด้วยการเรียนตอนเย็น Taylor ได้ประดิษฐ์เครื่องจักรที่ใช้ตัดเหล็กด้วยความเร็วสูง โดยอุทิศชีวิตและเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตของเขาในฐานะวิศวกรที่ปรึกษา นอกจากนี้ยังเป็นผู้บุกเบิกและริเริ่มการนำเอาวิทยาศาสตร์มาใช้ทดแทนจารีตประเพณีอันเป็นความเคยชินในการทำงานมาแต่ก่อน โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตด้วยการคิดค้นการทำงานตามหลักวิทยาศาสตร์
 ชื่อทฤษฎี : การจัดการอย่างมีหลักเกณฑ์/ การจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ (Scientific Management)
    
    
    
     หลักการที่สำคัญ
* ต้องสร้างหลักการทำงานที่เป็นวิทยาศาสตร์ โดยใช้หลัก Time and Motion Study แล้วกำหนดเป็น One best Way เพื่อให้เกิดวิธีการทำงานที่มีประสิทธิภาพมีการเลือกคนให้เหมาะสม
* มีกระบวนการพัฒนาคน
* สร้าง Friendly Cooperation ให้เกิดขึ้น
     ข้อเสีย การบริหารจัดการแบบวิทยศาสต์ถูกวิจารณ์ว่า ไม่ได้คำนึงถึงองค์ประกอบที่เป็นมนุษย์ ทำให้ขาดความไว้วางใจผู้บริหาร
     การนำไปใช้  ตามทฤษฎี "การจัดการอย่างมีหลักการ (Scientific Management)" นี้ Taylor เห็นว่าสามารถนำไปใช้ได้กับขั้นตอนการปฏิบัติงานทุกประเภท อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติความคิดเกี่ยวกับวิทยาการจัดการของ Taylor ได้รับการต่อต้านจากหลายฝ่าย เช่น นักบริหารระดับผู้จัดการ หัวหน้างานที่ไม่มีความรู้/ ความคิดที่ Taylor ให้การยกย่องผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (Specialist) ส่วนสหภาพแรงงานก็ต่อต้านเพราะรู้สึกว่า Taylor มองคนเหมือนหุ่นยนต์




26.Max Weber
Max Weber
     ชีวิตและการทำงาน Max Weber อยู่ในช่วงปี ค.ศ.1864-1920 ซึ่งเป็นเหตุการณ์สำคัญที่มีการค้นพบทฤษฎีของ Henri Fayol และ Frederick W. Taylor ด้วย Max Weber เกิดในประเทศเยอรมันและอยู่ในตระกูลที่ร่ำรวย ครอบครัวเกี่ยวข้องกับการเมือง เป็นที่นับถือในสังคม Weber สนใจในด้านสังคมวิทยา ศาสนา เศรษฐศาสตร์ และการเมือง ในช่วงที่ Weber เขียนหนังสือ The Protestant Ethic and the Spirit of Capitalism เขามีโอกาสเข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกา และได้เห็นระบบนายทุน ในปี ค.ศ.1904 Weber ได้รับเชิญให้ร่วมประชุมที่ Saint Louis ซึ่งเป็นเรื่องของสังคมวิทยาของศาสนา (Sociology of religion) และต่อมาได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า Bureaucracy แมคซ์ เวเบอร์ เป็นนักทฤษฎีองค์การชาวเอยรมัน ซึ่งอธิบายทฤษฎีเกี่ยวกับการครอบงำ (Domination) โดยเขาเห็นว่าผู้นำหรือนักบริหารจะบริหารงานให้มีประสิทธิภาพได้ ขึ้นอยู่กับการที่ผู้อยู่ใต้บังคับบัญชายินยอมที่จะปฏิบัติตาม และจะต้องมีระบบการบริหารมาดำเนินการให้คำสั่งมีผลให้บังคับได้
1. อำนาจการปกครองบังคับบัญชา (Domination)
- การปกครองหรือการครอบงำโดยอาศัยจารีตประเพณี
- การปกครองหรือการครอบงำโดยใช้บารมี
- การปกครองหรือการครอบงำโดยวิธีกฎหมายและการมีเหตุผล
2. ลักษณะ
- มีการควบคุมกันโดยการแบ่งลำดับชั้นของการบังคับบัญชา
- การปฏิบัติงานทุกขั้นตอนเป็นไปตามกฎ/ระเบียบ
- การจัดคนที่มีความรู้ความชำนาญเข้าด้วยกัน
- การบริหารงานโดยไม่อาศัยเรื่องส่วนตัว
- เน้นการยึดถือความสามารถทางวิชาการ
- การเน้นความสำคัญของการพัฒนาบุคคล
- แยกผลประโยชน์ส่วนตัวออกจากตัวองค์การ
     ข้อดี...
1. องค์การมีประสิทธิภาพในการทำงาน (Efficiency) 2. มีความเสมอภาค (Equity)
     ข้อเสีย...
1. เกิดความแปลกแยก (Aienation) ต่อองค์การ งาน และกฎระเบียบ
2. เกิดความเฉื่อยชา ไม่มีประสิทธิภาพ
3. เกิดความล่าช้า (Red Tape) เพราะต้องเน้นกฎ/ระเบียบและการติดต่อสื่อสารแบบเป็นทางการ
4. ความไม่คล่องตัว (Rigidity) เนื่องจากเน้นการควบคุมจากเบื้องบน
5. เน้นความสำคัญของกฎ/ ระเบียบ และข้อบังคับมากเกินไป จนมองข้ามความสำคัญในส่วนอื่น
6. แบ่งแยกงานกันตามความถนัดมากจนเกินไป
7. ขาดการประสานงาน
8. การต่อต้านการเปลี่ยนแปลง
9. การนำไปใช้ : เป็นรูปแบบอุดมคติ ไม่ได้มีการทดสอบเพื่อการนำไปใช้ มองคนในลักษณะที่เป็นเครื่องมือ ไม่มีชีวิตจิตใจ คนจึงเห็นแก่ตัว เกียจคร้าน ไม่มองการณ์ไกล เชื่อถือไม่ได้ มีการใช้ดุลยพินิจที่ไม่ดี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น