วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Framework Management Tool Box : Value Based Management , Re-engineering , Corporate Governance , Strategic Planning

Framework Management Tool Box : Value Based Management

Framework Management Tool Box : Value Based Management
ด้าน Leading

VBM คือ การบริหารตามฐานมูลค่าหรือ การบริหารที่เน้นมูลค่า เป็นแนวทางสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้นอย่างเป็นระบบ และมุ่งสร้างความมั่งคั่งสูงสุดให้กับผู้ถือหุ้น (Maximizing Shareholder Wealth) โดยมีการนำต้นทุนของทุนมาในการคำนวณ รวมทั้งการวัดผลตอบแทนที่ไม่ได้เป็นตัวเงิน (Nonfinancial) เช่นการผลทางคุณภาพ ซึ่งแสดงความสัมพันธ์ด้วยเหตุและผล ดังนี้

ความพึงพอใจของพนักงาน > ความพึงพอใจของลูกค้า > การสร้างผลกำไร > การเพิ่มความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้น

จากแผนภาพแสดงความสัมพันธ์ของเหตุและผลจะมีลักษณะการเชื่อมโยงเสมือนห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ด้วยการมุ่งผลลัพธ์การเพิ่มความมั่งคั่งให้กับผู้ถือหุ้น โดยมีองค์ประกอบทาง Nonfinancial สนับสนุนการสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้น สำหรับแนวคิด VBM มีองค์ประกอบดังนี้
• มูลค่าเพิ่มเงินสด (Cash Value Added: CVA)
• มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value: NPV)
• อัตราผลตอบแทนของโครงการ (Internal rate of return: IRR)
• ผลตอบแทนทางกระแสเงินสด (Cash Flow Return on Investment: CFROI)
• มูลค่าเพิ่มเชิงเศรษฐกิจ (Economic Value Added: EVA)
• การวิเคราะห์มูลค่าผู้ถือหุ้น (Shareholder Value Analysis)


ในการนำ VBM ไปใช้กับองค์กร VBM เป็นวิธีการที่จะทำให้บุคลากรแต่ละคนในองค์กร

มีส่วนร่วมอย่างเต็มที่ทั้งในฐานะที่เป็นผู้ปฏิบัติงานและเจ้าขององค์กร
-ได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสมกับการทุ่มเทให้กับองค์กรทั้งในฐานะผู้ปฏิบัติงานและเจ้าขององค์กร
-ร่วมกับบุคลากรอื่นในการแก้ไขปัญหาหรือข้อผิดพลาดในระบบที่มีผลกระทบต่อการมีส่วนร่วมและตอบแทน

ยิ่งบุคลากรมีความสนใจในสิ่งเดียวกัน ก็ยิ่งทำให้ความพึงพอใจของทั้งลูกค้าและบุคลากรเพิ่มขึ้นซึ่งนำไปสู่การลดต้นทุน การมีรายได้ และผลกำไรเพิ่มขึ้น นำไปสู่ความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้น

ภายใต้แนวคิดของ VBM มูลค่าขององค์กรจะวัดจากกระแสเงินสดในอนาคตที่ปรับค่าของเงินตามระยะเวลาแล้ว มูลค่าขององค์กรดังกล่าวจะเกิดขึ้นเมื่อองค์กรได้ลงทุนในโครงการและได้รับผลตอบแทนสูงกว่าต้นทุนที่ลงไป VBM จะมุ่งความสนใจไปยังวิธีที่องค์กรจะนำมูลค่านี้มาใช้ในการสร้างกลยุทธ์รวมและการตัดสินใจในการดำเนินงานทั่วไป วิธีการดังกล่าวเป็นวิธีการบริหารที่นำการกำหนดเป้าหมายและการจัดการเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจของฝ่ายบริหารมาใช้เป็นกุญแจสำคัญในการสร้างมูลค่าให้กับองค์กร
ระบบ VBM จึงมีความคล้ายคลึงกับระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจอื่น แต่ก็มีจุดแตกต่างไปจากระบบสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจอื่นตรงที่ว่า VBM จะรวมการสื่อสารเป้าหมายกลยุทธ์จากผู้บริหารไปยังพนักงานระดับปฏิบัติการและการส่งรายงานผลการปฏิบัติงานจากผู้ปฏิบัติงานมายังผู้บังคับบัญชา โดยอาศัยทั้งข้อมูลในอดีตและข้อมูลที่เกิดจากการพยากรณ์เพื่อสนับสนุนวงจรการจัดการหรือบริหารมูลค่าทั้งหมด

ระบบดังกล่าวทำให้สามารถรวบรวมและเปรียบเทียบข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกองค์กรกับเป้าหมาย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการวัดผลการปฏิบัติงานและสามารถนำมาสร้างสารสนเทศเพื่อการจัดการ สารสนเทศเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลด้วยการสร้างแบบจำลองและสถานการณ์ที่ทำให้เกิดเป็นองค์ความรู้ ซึ่งสามารถนำมาใช้เป็นพื้นฐานในการวางแผนกลยุทธ์ แผนเหล่านี้จะถูกนำไปแปลงเป็นเป้าหมาย ซึ่งจะผลักดันการจัดการผลการปฏิบัติงานเพื่อให้ครบวงจร
VBM จึงเป็นแนวคิดของการจัดการที่พยายามปลูกฝังความรู้สึกนึกคิดของบุคลากรทุกคนในองค์กรในอันที่จะต้องเรียนรู้ที่จะจัดลำดับความสำคัญการตัดสินใจก่อนหลังโดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจที่ว่าการตัดสินใจนั้นก่อให้เกิดมูลค่าแก่องค์กรอย่างไร ซึ่งหมายถึงว่ากระบวนการและระบบหลัก ๆ ทั้งหมดในองค์กรจะมุ่งเข้าสู่การสร้างมูลค่า (Creation of Value) และสร้างความมั่งคั่งจากการปฏิบัติงานเพื่อสร้างความมั่งคั่งและผลตอบแทนให้กับผู้ถือหุ้น

ดังนั้น แนวคิด VBM จะช่วยองค์กรในการวัดผลจากการจัดการ VBM จึงเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างกลยุทธ์ การประเมินผลปฏิบัติงาน และกระบวนการในการสร้างมูลค่าให้กับผู้ถือหุ้น 
 

Framework Management Tool Box : Re-engineering

Framework Management Tool Box : Re-engineering
ด้าน Organizing

Michael Hammer and James Champy
     แนวความคิดของ Adam Smith ไม่เหมาะสมกับสภาพธุรกิจปัจจุบัน ด้วยสภาวการณ์ต่าง ๆ ได้เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จากปัจจัยผันแปร 3 ประการคือ
        1.  ความสำคัญของลูกค้า (Customer)
        2.  สภาพการแข่งขัน  (Competition)
        3.  การเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง (Change)

     Re-engineering  หมายถึง  การพิจารณาหลักการพื้นฐานและการคิดแบบขึ้นใหม่ ชนิดถอนรากถอนโคนของกระบวนการธุรกิจเพื่อบรรลุซึ่งผลลัพธ์ของการปรับปรุงอันยิ่งใหญ่ โดยใช้มาตรวัดผลการปฏิบัติงานที่ทันสมัยและสำคัญที่สุด ซึ่งได้แก่ ต้นทุน  คุณภาพ การบริการและความรวดเร็ว

      องค์ประกอบ มีปัจจัย  4  ประการ
            1.  พื้นฐาน (Fundamental)
            2.  ถอนรากถอนโคน (Radical)
            3.  ยิ่งใหญ่ (Dramatic)
            4.  กระบวนการ (Processes)

      ผู้ที่มีส่วนร่วมในการทำ Re-engineering
            1.  ผู้นำ (Leader)
            2.  เจ้าของกระบวนการ (Process Owner)
            3.  ทีม Re-engineering (Re-engineering Team)
            4.  คณะกรรมการผลักดัน (Steering Committee)
            5.  หัวเรือใหญ่ในการทำ Re-engineering (Re-engineering Czar)

    ขั้นตอนการทำ Re-engineering
           1.  Re-think
           2.  Re-design
           3.  Re-tool
           4.  Re-train

    ข้อดีของการทำ Re-engineering
         -  ทำให้บุคลากรของหน่วยงานสามารถทำงานได้หลาย ๆ ช่วงการบังคับบัญชาสั้นลง
         -  ด้านอำนาจและความรับผิดชอบ ทำให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการตัดสินใจมากขึ้น
         -  สายการบังคับบัญชา มีการเปลี่ยนมือจากคน ๆ เดียวมาเป็นคนหลายคน
         -  สามารถลดขั้นตอนในการปฏิบัติงานลงได้
         -  กรทำงานภายในองค์การจะเกิดความคล่องตัวมากยิ่งขึ้้น
         -  ก่อให้เกิดการขยายงานอย่างเป็นระบบ
         -  ก่อให้เกิดการประหยัดในการดำเนินการทั้งต้นทุนทางตรงและต้นทุนทางอ้อม
         -  มุ่งตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นสำคัญอันจะนำไปสู่ให้ลูกค้าพึงพอใจมากขึ้น
         -  เป็นการปรับเปลี่ยนแนวคิดใหม่ทั้งหมดในการทำงาน (Holistic approach)
         -  เจ้าหน้าที่หรือพนักงานสามารถทำงานได้อย่างเป็นอิสระมากขึ้น

 

Framework Management Tool Box : Corporate Governance

Framework Management Tool Box : Corporate Governance
ด้าน Organizing

Corporate Governance เป็นกระบวนการ กิจกรรมหรือกลไกที่องค์กรกระทำเพื่อให้เกิดการจัดการที่ดีในองค์กร เป็นระบบที่จัดให้มีกระบวนการโครงสร้างและการควบคุมกิจการให้มีความรับผิดชอบตามหน้าที่ด้วยความโปร่งใส โดยสร้างความสามารถในการแข่งขันภายใต้กรอบของจริยธรรมที่ดี โดยคำนึงถึง Stakeholder ได้แก่ ลูกค้า ผู้ถือหุ้น พนักงานและสังคมโดยรวม มีลักษณะที่สำคัญ คือ
-                -   การบริหารจัดการภาครัฐที่มีประสิทธิภาพ
-                -  การตรวจสอบและอธิบายได้
-                -      ความโปร่งใส
-                -     การมีกรองกฎหมายสำหรับการพัฒนา
Corporate Governance จึงเป็นพื้นฐานที่จะช่วยพัฒนาสังคมให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพโดยยึดหลัก ประการ คือ
1.            ความซื่อสัตย์สุจริต
2.            การเปิดเผยข้อมูลโปร่งใส
3.            ความรับผิดชอบที่สามารถตรวจสอบได้
4.            ความชอบธรรมและยุติธรรม
5.            ความมีคุณภาพและประสิทธิภาพ
6.            ความมีคุณธรรมและจริยธรรมขององค์กร
หากองค์กรธุรกิจสามารถนำหลักดังกล่าวมาปรับใช้ก็จะสามารถนำพาองค์กรและสังคมก้าวไปสู่ความสำเร็จได้พร้อมกัน
 

ฺFramework Management Tool Box :Strategic Planning

Framework Management Tool Box :Strategic Planning
ด้าน Planning

Strategic Planning คือ การวางแผนเชิงกลยุทธ์เป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการจัดการเชิงกลยุทธ์ การวางแผนเชิงกลยุทธ์ระกอบด้วย ขั้นตอนการศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับสถานภาพขององค์กร การนำข้อมูลที่รวบรวมได้มาวิเคราะห์หรือสังเคราะห์เพื่อนำไปใช้ในการจัดวางทิศทางขององค์กร จากนั้นจึงกำหนดกลยุทธ์ว่าควรจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้ตามทิศทางที่กำหนดไว้การวางแผนกลยุทธ์ต้องตอบคำถาม 3 ประการ
1.       ทำอย่างไรองค์กรจึงจะสามารถตอบสนองวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์
2.       ทำอย่างไรทุกคนในองค์กรจึงจะทำงานไปในทิศทางเดียวกันตามกลยุทธ์ที่วางไว้
3.       จะวัดหรือติดตามความคืบหน้าของการดำเนินการตามกลยุทธ์ได้อย่างไร

ขั้นตอนสำคัญในการวางแผนเชิงกลยุทธ์ ประกอบด้วย

1.       วิเคราะห์สภาพแวดล้อมโดยพิจารณาจุดแข็ง จุดอ่อนโอกาส และอุปสรรค ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
2.       จัดวางทิศทางขององค์กร โดยกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ขององค์กรอย่างชัดเจน
3.       กำหนดกลยุทธ์ โดยพิจารณาจากความเหมาะสมและสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง จากการวิเคราะห์ทางเลือกด้วยเทคนิคต่าง ๆ
4.       ปฏิบัติงานตามกลยุทธ์ โดยดำเนินงานตามแผนที่กำหนดไว้ คำนึงถึงโครงสร้างขององค์กร และวัฒนธรรมขององค์กร เพื่อนำไปสู่ความสำเร็จและเกิดความเชื่อมโยงอย่างเป็นระบบ
5.       ควบคุมเชิงกลยุทธ์ โดยติดตามผลการปฏิบัติงานประเมินผลกระบวนการและประเมินผลสำเร็จขององค์กร

ประโยชน์ของกระบวนการวางแผนเชิงกลยุทธ์

1.       เปลี่ยนทิศทางและผลการดำเนินงานทางธุรกิจ
2.       สร้างกรอบการทำงานที่ต้องการอาศัยการตัดสินใจในองค์กร
3.       กำหนดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมในเรื่องการตัดสินใจเกี่ยวกับงบประมาณและการประเมินผลการดำเนินงาน
4.       ฝึกอบรมผู้บริหารเพื่อพัฒนาการใช้ข้อมูลในการตัดสินใจให้ดียิ่งขึ้น
5.       เพิ่มความมั่นใจในทิศทางการดำเนินธุรกิจ

เกณฑ์สำคัญในการพิจารณากลยุทธ์

1.       เป็นกลยุทธ์ที่ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมภายนอก
2.       เป็นกลยุทธ์ที่สร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน
3.       เป็นกลยุทธ์ที่สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ พันธกิจและวัตถุประสงค์ในระยะยาว
4.       เป็นกลยุทธ์ที่มีความยืดหยุ่น ที่เหมาะสม
5.       เป็นกลยุทธ์ที่เป็นไปได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น