วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Framework Management Tool Box : Five Forces Analysis , Communication , Performance Prism ,

Framework Management Tool Box : Five Forces Analysis

Framework Management Tool Box : Five Forces Analysis
ด้าน Planning

       ความเป็นมา

            Five Forces Analysis เป็นโมเดลที่ใช้ในการวางแผนระดับธุรกิจ เพื่อการแข่งขัน โดยใช้ในการประเมิน และวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอก ซึ่งโมเดลนี้มาจากแนวความคิดของ Michael E. Porter

          Five Forces Analysis  ของ Michael E.Porter (พอร์ตเตอร์)

  
องค์ประกอบ

(1) สภาพการณ์ของการแข่งขัน (Rivalry)
(2) อำนาจการต่อรองของผู้บริโภค (Bargaining Power of Customers)
(3) อำนาจการต่อรองของผู้ผลิต หรือผู้ขายวัตถุดิบหรือซัพพลายเออร์ (Bargaining Power of Suppliers)
(4) การเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ (Threat of new Entrants)
(5) การมีสินค้าและบริการอื่นที่ทดแทนกันได้ (Threat of Substitute



  วิธีใช้งาน :  
       1. วิเคราะห์เกี่ยวกับคู่แข่งขันทั้งหมดที่มีอยู่ในธุรกิจเดียวกันทั้งในประเทศและต่างประเทศ
       2.  วิเคราะห์เพื่อให้ทราบอำนาจการต่อรองของผู้บริโภคว่ามีมากน้อยเพียงใด
       3.  วิเคราะห์การพึ่งพาจากผู้ผลิตถ้าธุรกิจเราต้องการมีการพึ่งพาผู้ผลิตรายหนึ่ง ๆ สูง การจะมีความเสี่ยงของการประกอบธุรกิจมากขึ้น
       4. วิเคราะห์ว่ามีความยากง่ายในการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่มากน้อยเพียงใด
       5. วิเคราะห์ว่าสินค้าและบริการที่บริษัทมีอยู่นั้นมีโอกาสหรือไม่ที่จะมีสินค้าและบริการอื่นเข้ามาทดแทนสินค้าและบริการเดิมของบริษัท

โมเดลนี้ใช้เพื่อ 

ในแต่ละองค์ประกอบทั้งห้านั้น จะต้องทำการวิเคราะห์และพิจารณาให้ดีว่าองค์กรของตนสามารถแข่งขันได้ดีเพียงใด


ข้อดีและข้อเสีย
             ไม่ควรใช้โมเดลนี้เพียงลำพัง  ชี้ให้เห็นเฉพาะด้านที่เป็นปัจจัยภายนอกองค์กรเท่านั้น โดยไม่วิเคราะห์สมรรถภาพขององค์กร  ความพร้อมขององค์กร ทรัพยากรขององค์กร 


จัดทำอย่างไร ?

1. นำ Strategic Factor ที่คัดไว้ซึ่งจะมีทั้งที่เป็น โอกาส (O) และอุปสรรคหรือภัยคุกคาม (T) มาเขียนลงในคอลัมน์ (1) ของ ตาราง EFAS (External Factors Analysis Summary)

2. ให้น้ำหนักแต่ละ factor ในคอลัมน์ (2) โดยน้ำหนักสูงสุด คือ 1.00 และต่ำสุดคือ 0.00 ซึ่งน้ำหนักของแต่ละปัจจัยรวมกันต้องเท่ากับ 1.00 (การให้น้ำหนักเป็นดุลยพินิจของผู้บริหาร)

3. การให้คะแนนแต่ละ Factor ในคอลัมน์ (3) นั้น คะแนนสูงสุดคือ 5 และคะแนนต่ำสุดคือ 1 (Likert Scale)

4. ในแต่ละ Factor… ให้นำน้ำหนักในคอลัมน์ (2) คูณกับคะแนนในคอลัมน์ (3) ซึ่งจะได้ Weighted score ในคอลัมน์ (4)

5. ใช้คอลัมน์ (5) ในกรณีที่ต้องการให้เหตุผลกำกับแต่ละ Factor นั้น

6. รวมคะแนนถ่วงน้ำหนัก หรือ Weighted score ในคอลัมน์ (4) ทั้งหมด คะแนนที่ได้จะบอกให้รู้ว่า องค์กรสามารถตอบสนองต่อ Strategic Factor ที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมภายนอกได้ดีเพียงใด
 

Framework Management Tool Box : Communication

Framework Management Tool Box : Communication
ด้าน Leading

         การสื่อสาร คือ  กระบวนการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสารระหว่างบุคคลต่อบุคคลหรือบุคคลต่อกลุ่มโดยใช้สัญลักษณ์  สัญญาณ หรือพฤติกรรมที่เข้าใจกัน
         
          องค์ประกอบของการสื่อสาร
     1.  ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
     2.  ข้อมูลข่าวสาร  (Message)
     3.  สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
     4.  ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
     5.  ช่องทาง (Channel)

          รูปแบบของการสื่่อสาร
      1.  การสื่อสารระบบทางเดียว (One-way-Communication)
      2.  การสื่อสารระบบสองทาง (Two-way-Communication)


      การสื่อสารขององค์กร
        1.  ลักษณะขององค์กร
        2.  วัฒนธรรมขององค์กร
        3.  ระดับและเป้าหมายขององค์กร
        4.  ขนาดขององค์กร
        5.  ความต้องการเป็นอิสระ
        6.  คุณภาพของชีวิตในงาน

    เส้นทางการสื่อสาร
   1.  การสื่อสารจากเบื้องบนลงสู่เบื้องล่าง
   2.  การสื่อสารจากเบื้องล่างขึ้นสู่เบื้องบน
   3.  การสื่อสารตามแนวราบ
   4.  การสื่อสารข้ามสายงาน

    ลักษณะการสื่อสารในองค์กร
   1.  การสื่อสารที่เป็นทางการ (Formal Communication)
   2.  การสื่อสารที่ไม่เป็นทางการ (Informal communication)

   อุปสรรคของการสื่อสาร
    1.  การบิดเบือนการสื่อสาร
    2.  ภาระหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสื่อสาร
   
   ประโยชน์ของการสื่่อสาร
    1.  เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร
    2.  เพื่อกระตุ้นและจูงใจ
    3.  เพื่อประเมินผลการทำงาน
    4.  เพือสร้างความสัมพันธ์ในหมู่คณะ
    5.  เพื่อวินิจฉัยสั่งการ
 

Framework Management Tool Box : Performance Prism

Framework Management Tool Box : Performance Prism
ด้าน Controlling

      Performance Prism ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยมีสมมติฐานมาจากจุดอ่อนหรือข้อจำกัดของเครื่องมือในการประเมินผลองค์กรอื่นๆ อาทิเช่น Balanced Scorecard
        Performance Prism มองว่าเครื่องมือในการประเมินผลเช่น Balanced Scorecard มุ่งเน้นแต่ Stakeholders (กลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับองค์กร) เพียงไม่กี่กลุ่มเท่านั้น (ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ถือหุ้น ลูกค้า และพนักงาน) โดยละเลยต่อความต้องการของ Stakeholders กลุ่มอื่นๆ ยิ่งในปัจจุบันที่สภาวะการดำเนินธุรกิจเริ่มเปลี่ยนไปทำให้บทบาทของ Stakeholders กลุ่มอื่นๆ ทวีความสำคัญขึ้น ทำให้หลักการของ Performance Prism ถือกำเนิดขึ้นมาโดยมุ่งเน้นที่ Stakeholders แทนที่ Shareholders เหมือนในกรณีของ Balanced Scorecard

มุมมองของ Performance Prism
1. ความพอใจของผู้เกี่ยวข้องกับองค์กร (Stakeholder Satisfaction) โดยในมุมมองนี้จะพิจารณาว่า
   ใครคือ Stakeholders ที่สำคัญขององค์กร และอะไรคือสิ่งที่ Stakeholders ต้องการจากองค์กร?
2. สิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องกับองค์กรมอบให้องค์กร (Stakeholder Contribution) โดยจะต้องตอบคำถามว่าอะไร
   คือสิ่งที่องค์กรต้องการจาก Stakeholders หรืออีกนัยหนึ่งคือ อะไรคือสิ่งที่ Stakeholders แต่ละกลุ่ม
   มอบให้กับองค์กร?
3. กลยุทธ์ (Strategies) เป็นการมองจากมุมมองในสองข้อแรก แล้วพิจารณาว่าอะไรคือกลยุทธ์ที่จะ
   ต้องใช้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของ Stakeholders และในขณะเดียวกันสามารถตอบสนองต่อ
   ความต้องการขององค์กรด้วย
4. กระบวนการที่สำคัญขององค์กร (Processes) จากกลยุทธ์ในมุมมองที่ผ่านมา อะไรคือกระบวนการที่
     องค์กรจะต้องมีเพื่อให้สามารถปฏิบัติตามกลยุทธ์?
5. ความสามารถ (Capabilities) สุดท้ายจากกระบวนการขององค์กร อะไรคือความสามารถที่องค์กรจะ
    ต้องมี เพื่อที่จะได้สามารถดำเนินกระบวนการข้างต้นได้?


 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น