วันพฤหัสบดีที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2555

Framework Management Tool Box :Industry Analysis , Strategic Thinking , PDCA

Framework Management Tool Box :Industry Analysis

Framework Management Tool Box :Industry Analysis
ด้าน Planning

เป็นการวิเคราะห์ภาวะของอุตสาหกรรมของบริษัทที่สนใจลงทุน ว่ามีลักษณะและแนวโน้มที่ดีหรือไม่ โดยพิจารณาจากอัตราการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม (Growth) ช่วงวงจรชีวิตของอุตสาหกรรม (Industry Life Cycle) รวมถึงภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรม (Competition) และคาดการณ์เกี่ยวกับแนวโน้มของอุตสาหกรรมนั้น ๆ ในอนาคต (Trend) เพื่อประกอบการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม


ผู้ลงทุนควรพิจารณาลักษณะของอุตสาหกรรม โดยคำนึงถึง ปัจจัยหลัก ได้แก่


1) ความสัมพันธ์กับวัฎจักรธุรกิจ (Sensitivity to the Business cycle) การเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจระหว่างรุ่งเรืองกับชะลอตัว ย่อมส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในระดับที่แตกต่างกัน เราสามารถจำแนกประเภทอุตสาหกรรมเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจได้เป็น กลุ่ม คือ

        1.1 อุตสาหกรรมที่เติบโตสูงกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจ
                        1.2 อุตสาหกรรมที่เติบโตในระดับเดียวกับเศรษฐกิจ
                        1.3 อุตสาหกรรมที่ไม่ตกต่ำตามเศรษฐกิจ
ปัจจัยที่บ่งชี้ว่าอุตสาหกรรม มีความสัมพันธ์กับวัฎจักรธุรกิจมากเพียงไร คือ ยอดขายของสินค้าหรือบริการ เช่น ยอดขายของอุตสาหกรรมประเภทอาหาร ผลิตภัณฑ์ยา หรือบริการด้านการแพทย์                     มีความสัมพันธ์กับวัฏจักรธุรกิจต่ำ เนื่องจากอาหาร ยา การแพทย์นั้น เป็นสิ่งที่มีความจำเป็น ไม่ว่าภาวะเศรษฐกิจจะเป็นอย่างไร การบริโภคก็ยังคงมีความจำเป็นเพื่อดำรงชีวิตอยู่ ในขณะที่ยอดขายของอุตสาหกรรมประเภทก่อสร้าง ยานยนต์ การขนส่ง มีความสัมพันธ์กับวัฏจักรธุรกิจสูง เนื่องจากปริมาณการบริโภคในสินค้าหรือบริการเหล่านี้ อาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงตามภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไป นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากต้นทุนการดำเนินการ และต้นทุนทางการเงิน โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้เงินกู้สูง จะได้รับผลกระทบ จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยมาก ผู้ลงทุนควรกำหนดกลยุทธ์ในการลงทุน โดยพิจารณาจากความสัมพันธ์กับวัฏจักรธุรกิจด้วย เช่น ถ้าขณะนั้น เศรษฐกิจอยู่ในภาวะชะลอตัว ผู้ลงทุนควรเลือกกลุ่มอุตสาหกรรมที่ไม่ตกต่ำตามเศรษฐกิจ เป็นต้น

2) วงจรชีวิตอุตสาหกรรม (Industry Life Cycle) เป็นรูปแบบขั้นตอนการพัฒนาอุตสาหกรรม ซึ่งแบ่งออกได้เป็น ขั้น คือ
2.1 ขั้นบุกเบิก (Start-up) มีผู้ผลิตน้อยราย ยอดขายเติบโตช้า ผลิตภัณฑ์ยังพัฒนาไม่สมบูรณ์ กำไรต่ำหรือขาดทุน และอัตราการล้มเหลวของกิจการสูง
2.2 ขั้นเจริญเติบโต (Consolidation) ผลิตภัณฑ์เป็นที่ยอมรับของตลาด ยอดขายเพิ่มขึ้นรวดเร็ว เริ่มมีคู่แข่งเข้ามาในตลาด แต่การแข่งขันอาจยังไม่รุนแรง ทำให้กำไรมีโน้มเอียงสูงขึ้น
2.3 ขั้นเติบโตเต็มที่ (Maturity) ยอดขายเพิ่มในอัตราที่ลดลง ผลิตภัณฑ์เลียนแบบเข้ามาแข่งขัน ทำให้การแข่งขันเริ่มรุนแรง กำไรมีแนวโน้มลดลง
2.4 ขั้นถดถอย (Declination) ยอดขายลดลง ผลิตภัณฑ์ใหม่เข้ามาทดแทน อัตรากำไรลดลง    เริ่มมีบางกิจการถอนตัวออกไปจากตลาด
การเลือกอุตสาหกรรมที่จะลงทุน สิ่งสำคัญจะต้องรู้ว่าอุตสาหกรรมนั้นอยู่ในช่วงใดของวงจรชีวิต เพื่อที่จะได้ตัดสินใจอย่างถูกต้อง ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความสนใจของผู้ลงทุนที่แตกต่างกันออกไป เช่น ผู้ลงทุนบางท่านอาจสนใจธุรกิจที่อยู่ในขั้นบุกเบิก หรือธุรกิจที่อยู่ในขั้นเจริญเติบโต เพราะมองว่ามีแนวโน้มที่ดีในการเติบโตต่อไป ซึ่งจะทำให้ราคาหุ้นปรับตัวสูงขึ้น กล่าวคือ หวังว่าผลตอบแทนที่ได้น่าจะสูง แต่ทั้งนี้ ก็ควรตระหนักด้วยว่าความเสี่ยงก็อาจสูงด้วย แต่สำหรับผู้ลงทุนที่มองว่าธุรกิจในขั้นเติบโตเต็มที่นั้น น่าสนใจกว่าก็อาจมองว่า ความเสี่ยงค่อนข้างต่ำ และเห็นว่าธุรกิจที่อยู่ในขั้นนี้ ไม่ต้องการเงินทุนไปขยายกิจการเท่าไรนัก ก็อาจมีโอกาสจะได้รับเงินปันผล เป็นต้น

3) ภาวะ การแข่งขันในอุตสาหกรรม แต่ละอุตสาหกรรมย่อมมีภาวะ การแข่งขันที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งมีผลต่อการดำเนินธุรกิจที่แตกต่างกันไปด้วยปัจจัยหลักเพื่อการพิจารณามี ข้อคือ
3.1 การแข่งขันระหว่างคู่แข่งขันที่มีอยู่ในปัจจุบัน: ในอุตสาหกรรมที่มีการแข่งขันสูง บริษัทอาจจะดำเนินธุรกิจได้ลำบาก แต่ในขณะเดียวกันอาจมองได้ว่า บริษัทที่ยังอยู่รอดในอุตสากรรมนั้น ย่อมหมายถึงบริษัทนั้นมีความแข็งแกร่งเพียงพอ
3.2 การเข้ามาของคู่แข่งใหม่: หากคู่แข่งเข้ามาได้ยาก แสดงว่าแนวโน้มที่บริษัทจะทำธุรกิจได้กำไรดีก็จะมีสูง
3.3 สินค้าทดแทนหากสินค้าทดแทนในตลาดมีมากก็อาจจะทำให้บริษัทดำเนินการได้    ลำบากขึ้น
3.4 อำนาจการต่อรองของผู้ซื้อ: ถ้าผู้ซื้อมีอำนาจมาก นั่นหมายถึงผู้ซื้อสามารถที่จะต่อรองราคาให้ต่ำลงก็อาจทำให้ยากต่อการขายสินค้าและอาจทำให้ได้กำไรต่ำกว่าที่คาดหมายไว้
3.5 อำนาจการต่อรองของบริษัทผู้ขายวัตถุดิบ: ถ้าบริษัทมีอำนาจต่อรองกับผู้ขายวัตถุดิบน้อย ย่อมทำให้การทำธุรกิจเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะจะทำให้ราคาต้นทุนสินค้าสูงขึ้น ส่งผลให้กำไรที่ได้ลดต่ำลง
การวิเคราะห์ภาวะ การแข่งขันเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ผู้ลงทุนจะวิเคราะห์อุตสาหกรรม เพื่อพิจารณาว่าแต่ละอุตสาหกรรมนั้นมีความแข็งแกร่งทางด้านการแข่งขันเพียงใด และสามารถนำมาพิจารณาศักยภาพในการทำกำไรในระยะยาวได้ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุนต่อไป
 
 
 
Strategic Thinking
ด้าน Leading

   1.      หลักการ/แนวคิด/ประวัติความเป็นมา

การคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) หมายถึง ความสามารถในการหาวิธีการหรือทางเลือกที่ดีที่สุด ท่ามกลางสถานการณ์ที่อาจมีอุปสรรคและความไม่แน่นอน เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้ นักบริหารที่ต้องการประสบความสำเร็จในยุคโลกาภิวัฒน์ซึ่งมีการแข่งขันสูงเช่นในปัจจุบัน การเรียนรู้ในเรื่องสิ่งต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจ เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่การเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบข้างนั้น ก็ยังไม่อาจที่จะทำให้ประสบความสำเร็จที่แท้จริง ทักษะความคิดที่ดีที่สุดสำหรับนักบริหารคงหนีไม่พ้น ความคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking) เพื่อทำให้ตนเองเป็นนักคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinker) เพื่อจะได้ใช้ประกอบกับความรู้ที่มี เพื่อคิดหาทางแก้ไขปัญหา และหาแนวทางที่ดีที่สุด สำหรับองค์กรต่อไป แนวคิดเชิงกลยุทธ์ มีอยู่ แนวคิดคือ
1.1 ความคิดในมุมมองขององค์รวม (Holistic Thinking) และ ความคิดในเชิงบริบท (Context Thinking)
1.2 การปรับเปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ (Paradigm Shift) และ การคิดล่วงหน้า (Forward Thinking)
1.3 การมีวิสัยทัศน์ (Vision) และ พันธกิจ (Mission)
1.4 การมีความคิดในเชิงบูรณาการ (Innovative Thinking) และ ความคิดนอกกรอบ (Creative Thinking)
1.5 การวางแผนทางเลือก (Scenario Planning) และ การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
1.6 Game Theory ของ John Nash

2. องค์ประกอบของการคิดเชิงกลยุทธ์และการใช้ความคิดเชิงกลยุทธ์

2.1   กำหนดเป้าหมายที่ต้องการไปให้ถึง                                 
2.2   วิเคราะห์และประเมินสถานะ
2.3   การหาทางเลือกและการวางแผนกลยุทธ์
2.4   วางแผนปฏิบัติการ
2.5   การวางแผนคู่ขนาน
2.6   การทดสอบในสถานการณ์จำลอง
2.7   การวิพากษ์แผนเพื่อมองหาจุดอ่อน
2.8   การลงมือปฏิบัติการ
2.9   การประเมินผล

3. เครื่องมือนี้ใช้เพื่ออะไร

             (Strategic Thinking) เป็นตัวช่วยกำหนดว่าองค์กรควรจะมีเป้าหมาย เป็นอย่างไรในอนาคต ในขณะที่ระบบ  
การวางแผนเชิงกลยุทธ์ (Strategic Planning Systems) จะช่วยเลือกหนทางที่จะพาองค์กรให้ไปถึงจุดหมายปลายทาง
ที่ได้วางไว้ตามวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
4.   ข้อดี / ข้อเสียของการคิดเชิงกลยุทธ์ (Strategic Thinking)
ข้อดี
1.    ทำให้มองเห็นภาพอนาคตได้ชัดเจนขึ้น
2.    เห็นจุดอ่อน/จุดแข็งของตนเองและคู่แข่งขัน อุปสรรคและโอกาสของความสำเร็จของงาน ทางออกที่หลากหลาย
3.    สร้างแนวทางปฏิบัติให้เป้าหมายนั้นเป็นจริง ควบคุมตัวเราให้ไปถึงจุดหมาย ทำให้เราตระหนักถึงผลได้ผลเสียของการตัดสินใจพัฒนาทักษะการตัดสินใจในสภาการณ์ต่าง ๆ
4.    ช่วยให้ปรับตัวได้ภายใต้แรงกดดันจากสภาพแวดล้อมไม่ให้หลงไปกับผลประโยชน์ระยะสั้น
5.    ปลดปล่อยความคิดที่ติดยึดกับความสำเร็จในอนาคตและสร้างความได้เปรียบในสถานการณ์ต่างๆ
6.    เพิ่มโอกาสแห่งความสำเร็จโดยมีการกำหนดเป้าหมาย และมีวัตถุประสงค์ล่วงหน้าในการทำสิ่งต่างๆอย่างชัดเจน
7.    เป็นกระบวนการความคิด เกิดขึ้นเมื่อมีเป้าหมายบางอย่างที่ต้องการทำให้สำเร็จ
8.    มีลักษณะยืดหยุ่นไม่ตายตัว แต่พลิกแพลงโอนอ่อนไปตามสถานการณ์ที่แตกต่างกัน
    ข้อเสีย
1.    หากแผนปฏิบัติการณ์ไม่มีความยืดหยุ่นพอ อาจส่งผลเสียหายให้แก่องค์กรได้
2.    ผู้นำหรือผู้บริหารที่มีกลยุทธ์ในการคิด อาจจะมีไม่เพียงพอกับความต้องการในปัจจุบัน ภายใต้สถานการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

4.   ตัวอย่าง Strategic Thinking ในการวางแผนการดำเนินงาน

    ตัวอย่างที่ 1 แจ๊ค เวลช์ ก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารสูงสุดของเจนเนอรัล อิเล็กทริกส์ (General Electrics : GE) ในปีค..1981 ได้ตั้งเป้าหมายว่าจะนำ GE ให้กลายเป็นบริษัทอันดับหนึ่งในธุรกิจทุกประเภทที่ GE เข้าไปมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ได้ลงมือปฏิรูปการทำงานในองค์กรตั้งแต่การกำหนดวิสัยทัศน์ การเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กร โครงสร้างการทำงาน ตลอดจนระบบบริหารด้านต่างๆผลที่ตามมาคือ GE ได้พัฒนาจากสภาพที่ไม่ค่อยรุ่งเรืองนัก เมื่อปี ค..1981 กลายเป็นบริษัทอันดับ 1 ของโลกในปี ค..1997 จากการจัดอันดับบิสซิเนส วีก โดยGE มีมูลค่าตลาดเกือบ 200,000 ล้านเหรียญสหรัฐและในปี ค.1999 บิสซิเนส วีก ได้จัดให้ GE มีผลกำไรเป็นอันดับ 1 ของโลก
    ตัวอย่างที่ 2 ร็อกกี้ เฟลเลอร์ อภิมหาเศรษฐีชาวอเมริกันผู้บริจาคเงินเพื่อมนุษยชาติถึง 750 ล้านเหรียญสหรัฐในอดีตนั้นยากจนมากต้องเริ่มทำงานตั้งแต่เด็กเคยทำงานขุดมันในไร่ท่ามกลางแสงแดดที่ร้อนระอุเพื่อแลกกับเงินเพียง 4 เซ็นต์ต่อชั่วโมงแต่ด้วยความปรารถนาที่จะมีชีวิตที่ดีขึ้น และปณิธานที่แน่วแน่ที่จะใช้เงินเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นให้ไม่ต้องเผชิญความยากลำบาก เช่น ปณิธานที่แน่วแน่ทำให้เขาอุตสาหพยายามสร้างตัวเองขึ้นจนสามารถกลายเป็นมหาเศรษฐีของโลกและทำเป้าหมายที่ตั้งไว้ได้สำเร็จจะเห็นว่าเมื่อเรามีเป้าหมายที่ต้องการให้ไปถึงอย่างชัดเจนจะพยายามหาวิธีการไปถึงเป้าหม้ายนั้นจากนั้นจึงดำเนินการตามวิธีการอย่างเต็มที่จนกระทั่งบรรลุเป้าหมายที่ต้องการสิ่งที่ได้รับเรียกว่าความสำเร็จความต้องความประสบความสำเร็จนับเป็นความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ทุกคนต่างปรารถนาได้รับความสุขและความพึงพอใจจากสิ่งที่เราทามสำเร็จ ความสำเร็จนำมาซึ่งความภาคภูมิใจการเห็นคุณค่าในตัวเองยิ่งทำสิ่งต่างๆได้สำเร็จมากเท่าใดความรู้สึกนับถือและเชื่อมั่นในตนเองยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้นความพึงพอใจในชีวิตย่อมเพิ่มทวีขึ้นตามมาในทางตรงกันข้ามเมื่อไม่สามารถทำในสิ่งที่ตั้งใจไว้ได้สำเร็จประสบความล้มเหลวในการทำสิ่งต่างๆอยู่เสมอย่อมส่งผลให้ความเชื่อมั่นในตนเองลดลงการเห็นคุณค่าในตนเองลดน้อยลงขาดความรู้สึกพึงพอใจในชีวิต สิ่งที่ตามมาคือความรู้สึกท้อแท้สิ้นหวังและหมดกำลังใจในการดำเนินชีวิต

5.   การใช้ Strategic thinking ในการดำเนินงาน

-          ดร.สุมาส วงศ์สุนพรัตน์ : Strategic-Thinking Leader :  บทความการตลาด ตัวอย่างแผนการตลาด กลยุทธ์การตลาด ข่าวการตลาด

6.   กรณีศึกษา

          เมื่อห้าปีที่แล้ว บริษัท Media Publishing ประสบภาวะตกต่ำทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงที่สุดในรอบ     10 ปี ทำให้ผู้บริหารต้องคิดกลยุทธ์ใหม่ในการดำเนินธุรกิจภายใต้ภาวะเศรษฐกิจถดถอย โดยมีการดำเนินการ ดังนี้
          7.1 กำหนดเป้าหมาย    
          7.2 วิเคราะห์สถานการณ์ภายในและสภาพแวดล้อมภายนอก
          7.3 วิเคราะห์อนาคต 
          7.4 ทางเลือกกล
          7.5 วิเคราะห์ทางเลือกกลยุทธ์
          7.6 จัดอันดับทางเลือกกลยุทธ์     
          7.7 การเลือกกลยุทธ์ที่ดีที่สุด
          ในที่สุดบริษัท Media Publishing กลายเป็นสำนักพิมพ์ที่มีสภาพการหมุนเวียนเงินสดคล่องตัวอย่างมาก และเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จ
 

Framework Management Tool Box : PDCA

Framework Management Tool Box : PDCA
ด้าน Leading


PDCA คือ วงจรการบริหารงานคุณภาพ ประกอบด้วย               
P = Plan คือ การวางแผนงานจากวัตถุประสงค์ และเป้าหมายที่ได้กำหนดขึ้น               
D = Do คือ การปฏิบัติตามขั้นตอนในแผนงานที่ได้เขียนไว้อย่างเป็นระบบและมีความต่อเนื่อง               
C = Check คือ การตรวจสอบผลการดำเนินงานในแต่ล่ะขั้นตอนของแผนงานว่ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น จำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงแก้ไขแผนงานในขั้นตอนใด               
A = Action คือ การปรับปรุงแก้ไขส่วนที่มีปัญหา หรือถ้าไม่มีปัญหาใดๆ ก็ยอมรับแนวทางการปฏิบัติตามแผนงานที่ได้ผลสำเร็จ เพื่อนำไปใช้ในการทำงานครั้งต่อไป
เมื่อได้วางแผนงาน  (P)  นำไปปฏิบัติ (D) ระหว่างการปฏิบัติก็ดำเนินการตรวจสอบ (C) พบปัญหาก็ทำการแก้ไขหรือปรับปรุง (A)การปรับปรุงก็เริ่มจากการวางแผนก่อน วนไปได้เรื่อยๆ จึงเรียกวงจร PDCA




ประโยชน์ของ PDCA มีดังนี้

1.  การวางแผนงานก่อนการปฏิบัติงาน จะทำให้เกิดความพร้อมเมื่อได้ปฏิบัติงานจริงการวางแผนงานควรวางให้ครบ ขั้นดังนี้
(1) ขั้นการศึกษา  คือ การวางแผนศึกษาข้อมูล วิธีการ ความต้องการของตลาด ข้อมูลด้านวัตถุดิบ ด้านทรัพยากรที่มีอยู่หรือเงินทุน
(2) ขั้นเตรียมงาน   คือ การวางแผนการเตรียมงานด้านสถานที่ การออกแบบผลิตภัณฑ์ ความพร้อมของพนักงาน อุปกรณ์ เครื่องจักร วัตถุดิบ
(3) ขั้นดำเนินงาน   คือ การวางแนวทางการปฏิบัติงานของแต่ละส่วนแต่ละฝ่าย เช่น ฝ่ายผลิต ฝ่ายขาย
(4) ขั้นการประเมินผล  คือ การวางแผนหรือเตรียมการประเมินผลงานอย่างเป็นระบบ เช่น ประเมินจากยอดการจำหน่าย ประเมินจากการติชมของลูกค้า เพื่อให้ผลที่ได้จากการประเมินเกิดการเที่ยงตรง
2.  การปฏิบัติตามแผนงาน ทำให้ทราบขั้นตอน วิธีการ และสามารถเตรียมงานล่วงหน้าหรือทราบอุปสรรคล่วงหน้าด้วย ดังนั้น การปฏิบัติงานก็จะเกิดความราบรื่น และเรียนร้อย นำไปสู่เป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
3.  การตรวจสอบ ให้ได้ผลที่เที่ยงตรงเชื่อถือได้ ประกอบด้วย
3.1      ตรวจสอบจากเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้
3.2      มีเครื่องมือที่เชื่อถือได้
3.3      มีเกณฑ์การตรวจสอบที่ชัดเจน
3.4      มีกำหนดเวลาการตรวจที่แน่นอน
3.5      บุคลากรที่ทำการตรวจสอบต้องได้รับการยอมรับจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อการตรวจสอบได้รับการยอมรับ การปฏิบัติงานขั้นต่อไปก็ดำเนินงานต่อไปได้
4. การปรับปรุงแก้ไข ข้อบกพร่องที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนใดก็ตาม เมื่อมีการปรับปรุงแก้ไขคุณภาพก็จะเกิดขึ้น ดังนั้น วงจร PDCA จึงเรียกว่า วงจรการบริหารงานคุณภาพ

1 ความคิดเห็น:

  1. CASINO HOTEL & CASINO LEGAL, LA - JTM Hub
    This 5-star Las Vegas 과천 출장샵 hotel is 익산 출장샵 located off the Fremont Street Experience. 서귀포 출장안마 The casino hotel's 5,000 square foot 구미 출장마사지 gaming space features more than 60 table games 용인 출장안마 and a

    ตอบลบ